Browsing by Author "สุภาริณี พูลเกษม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemลักษณะสัณฐานวิทยาและเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมไฮโปฟาริงจ์และต่อมแมนดิบูลาร์ในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และ Tetragonula)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ณัชชา สาแก่งทราย; สิริยาภรณ์ ใจสม; สุภาริณี พูลเกษมชันโรงและผึ้งรวงมีต่อมหลั่งสารสู่ภายนอกในส่วนหัว ได้แก่ ต่อมไฮโปฟาริงจ์ และต่อมแมนดิบูลาร์ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของแมลงสังคม การศึกษานี้ทำการตรวจสอบโครงสร้างในหัวของชันโรง 5 สกุล (Homotrigona, Lepidotrigona, Tetrigona, Tetragonilla และTetragonula) กับผึ้งรวง 4 ชนิด (Apis cerana, A.dorsata, A. florea และ A. mellifera) วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา เนื้อเยื่อวิทยา และการวัดขนาดทางสัณฐานวิทยาของต่อมทั้งสอง รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีววิทยาสำหรับการผ่าตัดส่วนหัวของผึ้ง ผลการศึกษาต่อมแสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างพื้นฐานของต่อมไฮโปฟาริงจ์ในผึ้งที่ศึกษาทั้งหมด โดยประกอบด้วยเซลล์ต่อมขนาดเล็ก (acini) จำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมต่อเป็นสายยาว แต่ละ acini มีท่อขนาดเล็กยื่นออกมาจากเซลล์เพื่อเชื่อมติดกับท่อแกนหลัก ภายในเนื้อเยื่อพบเซลล์คัดหลั่งแบบ Class III ที่มีความแตกต่างของโครงสร้าง และการจัดเรียงเซลล์ระหว่างชันโรงและผึ้งรวง ในส่วนของต่อมแมนดิบูลาร์ ประกอบด้วย 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ต่อม Ectomandibular จะมีถุงเก็บสารที่เชื่อมต่อกับฐานของฟันกราม พบกลุ่มเซลล์คัดหลั่งแบบ Class III ภายในเนื้อเยื่อ ประเภทที่ 2 ต่อม Intramandibular จะพบเซลล์คัดหลั่งในช่องว่างของฟันกราม ซึ่งมีเซลล์คัดหลั่งแบบ Class I และ Class III แตกต่างกัน มากกว่านี้ การวิเคราะห์การวัดสัณฐานของต่อมทั้งสอง บ่งชี้ว่าขนาดสัณฐานของแต่ละต่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดลำตัวของชันโรง แต่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อการแสดงออกของพฤติกรรม หรือกิจกรรมภายในรังที่ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของชันโรงและผึ้งรวง นอกจากนี้การพัฒนาเทคนิคทางชีววิทยาสำหรับการศึกษาสัณฐานวิทยา และเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมทั้งสองในส่วนหัว โดยแนะนำให้ใช้สารรักษาสภาพ Davidson’s fixative การปรับปรุงขั้นตอนและเวลาของการขจัดน้ำออกจากเซลล์และการย้อมสีเนื้อเยื่อซึ่งประยุกต์ใช้ในการศึกษาผึ้งหรือแมลงอื่น ๆ ได้ต่อไป