Browsing by Author "สุพัฒน์ เขื่อนวัง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการตอบสนองต่อความร้อนของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่และการพัฒนาของเซลล์ไข่สุกร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) สุพัฒน์ เขื่อนวังงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ และเซลล์ไข่ที่ได้รับอุณหภูมิร้อน (Exposed Heat Shock; EHS) ในหลอดทดลอง การศึกษาที่ 1 ศึกษาอัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ โดยใช้เซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ที่ถูกเก็บจากสุกรสาวทั้งหมด 18 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 EHS 38.5 องศา เป็นเวลา 12 ชั่วโมง (Control) กลุ่มที่ 2 EHS 38.5 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (Control) กลุ่มที่ 3 EHS 40 องศา เป็นเวลา 12 ชั่วโมง กลุ่มที่ 4 EHS 40 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มที่ 5 EHS 42 องศา เป็นเวลา 12 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 6 EHS 42 องศา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลพบว่า กลุ่มที่ 1 มีอัตราการมีชีวิตรอด เท่ากับ 99.09 ± 0.68% สูงกว่ากลุ่มที่ 4 (97.45 ± 1.43%) กลุ่มที่ 5 (95.90 ± 2.29%) และกลุ่มที่ 6 (95.88 ± 1.89%) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) แต่ไม่แตกต่างกันกับ กลุ่มที่ 2 (98.95 ± 0.56%) และกลุ่มที่ 3 (97.59 ± 1.31%) (P > 0.01) การศึกษาที่ 2 ศึกษาการเพาะเลี้ยงเซลล์ไข่ร่วมกับเซลล์เยื่อบุผิวท่อนำไข่ที่ได้รับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน รังไข่ถูกเก็บจากสุกรสาวทั้งหมด 382 ตัว ผลพบว่า มีการขยายของเซลล์คิวมูลัส (Cumulus) เมื่อเลี้ยงไปถึงชั่วโมงที่ 44 ในกลุ่มที่ 1 (6.12 ± 0.90 µm) มากกว่ากลุ่มที่ 3 (5.80 ± 0.88 µm) กลุ่มที่ 4 (5.79 ± 0.90 µm) กลุ่มที่ 5 (5.80 ± 0.95 µm) และกลุ่มที่ 6 (5.65 ± 1.09µm) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) แต่ไม่แตกต่างกันกับ กลุ่มที่ 2 (6.08 ± 0.93 µm) (P>0.01) และผลของอัตราการพัฒนาของเซลล์ไข่ไปจนถึงระยะ Metaphase II ในกลุ่มที่ 1 (65.85%) มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 2 (64.30%) กลุ่มที่ 3 (61.88%) กลุ่มที่ 4 (60.82%) กลุ่มที่ 5 (61.88%) และกลุ่มที่ 6 (61.82%) ดังนั้นสรุปได้ว่า อุณหภูมิสูงส่งผลต่ออัตราการมีชีวิตรอดของเซลล์เยื่อบุผิวท่อนําไข่การขยายของเซลล์คิวมูลัส และการพัฒนาของเซลล์ไข่