Browsing by Author "สุปรีดา หอมกลิ่น"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการกำจัดสารเมทิลีนบลูด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลติกโดยใช้แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) สุปรีดา หอมกลิ่นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณสัดส่วนไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ในแผ่นฟิล์มพอลิแลคติคแอซิด (PLA) ที่เหมาะสม ศึกษาจลนพลหศาสตร์ของการย่อยสลายสารเมทิลีนบลู ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลติก โดยใช้แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดสารเมทิลีนบลู ด้วยกระบวนการโฟโตคะตะไลติก โดยใช้แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA ด้วยวิธีการฟื้นผิวตอบสนอง แผ่นฟิล์ม TiO2/PLA ที่มีความเข้มข้นของ TiO2 เท่ากับ 0 (F0), 1 (F1), 3 (F2) และ 5 (F3)% (w/w) ทำงานร่วมกับแสง UVC ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนที่เหมาะสมของ TiO2 ในแผ่นฟิล์มอยู่ที่ 3% (w/w) (แผ่นฟิล์ม F2) สามารถกำจัดสาร MB ได้ 50% ภายในระยะเวลา 60 นาที และย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ได้ 35% โดยมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นไป pseudo-first order และมีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ 11.0 x 10-3 นาที-1 ในการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดสารเมทิลีนบลู ทั้ง 3 ปัจจัย (ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารเมทิลีนบลู จำนวนแผ่นฟิล์ม และ pH) ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง พบว่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R-sq) เท่ากับ 98% นอกจากนี้ยังพบว่า สภาวะ pH ที่เป็นด่างสามารถบำบัดสารเมทิลีนบลู ได้ดีกว่าสภาวะอื่น ส่วนจำนวนแผ่นฟิล์มที่น้อย หรือมากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดสารเมทิลีนบลูลดลง และความเข้มข้นของสารเมทิลีนบลูที่มากกว่า 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร จะมีประสิทธิภาพในการบำบัดลดลง สภาวะที่เหมาะสมมากที่สุดของทั้ง 3 ปัจจัย คือ มีค่าความเข้มข้นเริ่มต้นของสารเมทิลีนบลู (X1) จำนวนแผ่นฟิล์ม TiO2/PLA (X2) และ pH (X3) เท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร 3 แผ่น และ pH เท่ากับ 8.43 ตามลำดับ สภาวะดังกล่าวสามารถบำบัดสารเมทิลีนบลูได้ 80% ภายในระยะเวลาการทำปฏิกิริยาแบบมีแสง UVC 90 นาที