Browsing by Author "สุบุญเลี้ยง สายน้อย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยความสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร : กรณีศึกษาวัฒนธรรมอาหารรามัญในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สุบุญเลี้ยง สายน้อยงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ งานวิจัยเรื่องนี้ดำเนินงานวิจัยเชิงผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จากข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการเก็บข้อมูลจากตัวแทนภาครัฐและตัวแทนภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่เดินทางมารับประทานอาหารรามัญเพื่อทดลองร้านอาหารรูปแบบใหม่ ๆ มีแหล่งข้อมูลของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญผ่านสื่อออนไลน์ ทีวี/ภาพยนตร์ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัว ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นครั้งแรก โดยกลุ่มตัวอย่างเดินทางมาท่องเที่ยวในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวอยู่ระหว่าง 501-1,000/ ต่อครั้ง (มื้อ) มากกว่าครึ่งไม่พักแรม และตั้งใจจะเดินกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากที่สุด 3 ลำดับ คือ ด้านช่องทางการจัดการจำหน่าย ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านบุคลากร 3) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากที่สุด 3 ลำดับ คือ ด้านการโฆษณา ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการขายโดยพนักงาน และ 4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญ จากการสัมภาษณ์ตัวแทนภารรัฐ และตัวแทนภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน ทำให้ได้แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารรามัญที่ชื่อว่า DEEP RAMAN CUISINE