Browsing by Author "สุจินตา คำเงิน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์ร่วมกับ อภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสามารถเชิงพุทธิปัญญาสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) สุจินตา คำเงินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนที่ใช้แนวคิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์และอภิปัญญา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ และความสามารถเชิงพุทธิปัญญาด้านความจำขณะทำงานและความตั้งใจ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนที่มีต่อความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนที่มีต่อความสามารถเชิงพุทธิปัญญา 4) ศึกษาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และ 5) ศึกษาผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน การดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็น/ สังเคราะห์แนวคิด/ ทฤษฎี/ พัฒนาร่างต้นแบบ รูปแบบการสอน ระยะที่ 2 นำร่างรูปแบบการสอนไปทดลองใช้เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ของรูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน ได้รับรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน ได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบทดสอบการพูดภาคปฏิบัติ 3) แบบวัดความจำขณะทำงานและแบบวัดความตั้งใจ 4) แบบประเมินรูปแบบการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ HotellingT2 ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นไฝ่รู้ (Reception) 2) ขั้นฝึกฝน (Rehearsal) 3) ขั้นสร้างความรู้จากสถานการณ์ใหม่ (Refreshing) 4) ขั้นฝังใจจำ (Recalling) และ 5) ขั้นตรวจสอบและประเมินผล (Refection) 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความสามารถเชิงพุทธิปัญญาหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ผลการศึกษาการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ และ 5. ผลการประเมินรูปแบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการสอนนี้สามารถมีการเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการเป็นฐานในการพัฒนาอย่างชัดเจน มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้มากที่สุด