Browsing by Author "สิริวิชญา คำชมภู"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะเมืองรอง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) สิริวิชญา คำชมภูการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะเมืองรอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพ และทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะเมืองรอง ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะเมืองรอง ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะเมืองรอง ผู้ศึกษาวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือใน 32 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน และนักวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดบุรีรัมย์มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในฐานะเมืองรอง เนื่องจากสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อารยธรรมสมัยอาณาจักรขอมโบราณ และมีวิถีชีวิตของ 4 กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน มีการสืบทอดศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัด ยังมีองค์ประกอบที่ต้องพัฒนาเพื่อใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และจิตใจของคนบุรีรัมย์ จากการวิเคราะห์ SWOT พบว่า บุรีรัมย์มีจุดเด่นด้านทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เป็นร่องรอยอารยธรรมขอมโบราณ จุดอ่อน คือ ชุมชนขาดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ แต่การเป็นเมืองกีฬา และการมีเขยฝรั่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว แต่วิกฤติเศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ทำให้การจัดการการท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์เกิดการชะงักงัน จากผลการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยสรุปแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะเมืองรอง โดยกำหนดวิสัยทัศน์ให้บุรีรัมย์เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ โดยการสร้างแบรนด์ท่องเที่ยว "ท่องบุรีรัมย์ตามรอยอารยธรรมขอมโบราณบนเส้นทางราชมรรคา ชมแหล่งโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ สัมผัสวิถีชุมชน 4 กลุ่มชาติพันธุ์ และตื่นใจกับแหล่งท่องเที่ยว UNSEEN" และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาดังนี้ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) การปลูกจิตสำนึก และพัฒนาจิตใจ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4) การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน และนักวิชาการ เพื่อร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้สำเร็จ