Browsing by Author "สิริจิตต์ วชิราวงศ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สิริจิตต์ วชิราวงศ์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 อย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด 19 การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นสองตอน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 จากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ เพื่อป้องกันโรคของผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โรคโควิด 19 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามชุดที่ 1 จำนวน 374 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนตอนที่ 2 การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดแบบเฉพาะเจาะจงจากตอนที่ 1 จำนวน 30 คน ในการเข้ารับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโดวิด 19 โดยเก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถามชุดที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี (ร้อยละ 36.10) นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 97.10) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 58.00) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 62.80) และไม่มีความต้องการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (ร้อยละ 73.3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (= 9.05, S.D. = 2.57 และ = 3.25, S.D. = 0.55 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง (= 3.15, S.D. = 0.53) ในตอนที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเพศหญิง อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 70-79 ปี (ร้อยละ 43.70) ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ไม่ได้ศึกษาเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.70) รองลงมา คือ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 33.30) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 56.70) มีความต้องการ และไม่มีความต้องการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในสัดส่วนที่เท่ากัน (ร้อยละ 50.00) ด้านแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งระดับแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับที่ดีขึ้น หากได้รับการส่งเสริมกับบุคคลทั้งในครอบครัว และชุมชนจะช่วยให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น