Browsing by Author "สาธิต อนุปิม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเสริมอาหารจากธรรมชาติเพื่อเพิ่มสมรรถภาพ การผลิตไก่แม่พันธุ์และลูกไก่พื้นเมืองไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) สาธิต อนุปิมไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ การศึกษาในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ การศึกษาประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 พัฒนาและศึกษาผลของสารเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่แม่พันธุ์พื้นเมือง โดยใช้แม่พันธุ์ไก่ประดู่หางดำ จำนวน 400 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง การทดลองละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 25 ตัว ให้อาหารประกอบด้วยสูตรอาหารควบคุม สูตรอาหารที่มีการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.01% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% สูตรอาหารที่มีการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% และสูตรอาหารที่มีการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.03% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% โดยมีการให้อาหารและน้ำ 2 ครั้ง (7.00 น. และ 15.00น.) จากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่เสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.01% ยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีผลทำให้มีปริมาณการให้ไข่ เปอร์เซ็นต์การฟักออกเปอร์เซ็นต์ไข่มีเชื้อมวลไข่ และประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนนอาหารเป็นไข่ที่ดีกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และมีปริมาณอาหารที่กินน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ดังนั้นการเสริมกวาวเครือขาวที่ระดับ 0.01% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีผลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น การทดลองที่ 2 พัฒนาและศึกษาผลของสารเสริมในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พันธุ์พื้นเมืองไทย โดยใช้ลูกไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำ จำนวน 1,200 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 75 ตัว ประกอบด้วยสูตรอาหารควบคุมสูตรอาหารที่มีการเสริมใบย่านางที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% สูตรอาหารที่มีการเสริมใบบัวบกที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% และสูตรอาหารที่มีการเสริมใบเตยที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% โดยมีการให้อาหาร 2 ครั้ง (7.00 น. และ 15.00 น.) จากการศึกษาพบว่า สูตรอาหารที่มีการเสริมใบเตยที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ต่อวัน และอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) สูตรอาหารที่มีการเสริมใบเตยที่ระดับ 0.02% ร่วมกับยีสต์ S. Cerevisiae 0.2% และแป้งกล้วย 0.5% มีผลทำให้สมรรถภาพการผลิตที่ดีขึ้น