Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ศิลป์ สร้อยสังวาลย์"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาเปรียบเทียบผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีแพ่งก่อนฟ้องและหลังฟ้องตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ศิลป์ สร้อยสังวาลย์
    การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือก ที่มีผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามาช่วยเหลือในการเจรจา ส่งเสริมให้คู่พิพาทบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ทำให้คู่พิพาททุกฝ่ายพอใจ ช่วยรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกัน ซึ่งดีกว่าการนำคดีไปฟ้องต่อศาล เพราะผลของคำพิพากษาศาลส่งผลให้ในระหว่างคู่กรณีมีผู้แพ้และผู้ชนะ อาจทำให้คู่พิพาทเกิดความบาดหมาง ทำให้สัมพันธภาพแย่ และต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล เสียเวลาในการประกอบอาชีพ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และทำให้คดีล้นศาลเดิม ศาลยุติธรรมมีกระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในศาลอยู่แล้ว ซึ่งเป็นระยะหลังฟ้อง ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี ทำให้เกิดกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องในศาล โดยคู่พิพาทสามารถร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เพื่อขอให้ไกล่เกลี่ยโดยไม่จำเป็นต้องฟ้องต่อศาล ยังประโยชน์ให้ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล และสามารถไกล่เกลี่ยคดีแพ่งได้โดยไม่จำกัดทุนทรัพย์ หากคู่พิพาทตกลงประนีประนอมกัน ก็ร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามยอมได้ ส่วนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 นั้นเป็นการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง โดยมีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง โดยมีขอบอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 500,000.-บาท ในขณะที่ศาลก็สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้เช่นเดียวกัน โดยถือว่าศาลเป็นหน่วยงานของรัฐ สามารถไกล่เกลี่ยทุนทรัพย์ที่มากขึ้น แต่ไม่เกิน 5,000,000.-บาท ในทางปฏิบัติคู่พิพาทจึงสามารถเลือกใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยตามช่องทางที่เหมาะสมกับกรณีของตนได้ จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น ประชาชนประสงค์ที่จะไกล่เกลี่ยในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มากกว่าที่จะไปศาล เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และบันทึกข้อตกลงระงับพิพาทที่คู่กรณีได้ตกลงกัน สามารถบังคับได้ หากมีการไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลง คู่พิพาทฝ่ายที่ต้องเสียหายจากการไม่ปฏิบัติการ ตามบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทสามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ โดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ส่งผลให้การ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนดังกล่าวมีสภาพการบังคับเทียบได้กับการไกล่เกลี่ยในศาล เกิดผลดีในการลดจำนวนคดีขึ้นสู่ศาล และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่คู่พิพาทและประชาชนในการยุติข้อพิพาท

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback