Browsing by Author "ศรีแสงเพชร เพ็ญวิจิตร"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไยร่วมกับการใช้ถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพดเพื่อเป็นวัสดุปลูกเมล่อนและกระเจี๊ยบเขียว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ศรีแสงเพชร เพ็ญวิจิตรงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ลำไยร่วมกับการใช้ถ่านชีวภาพจากซังข้าวโพด เพื่อเป็นวัสดุปลูกเมล่อนและกระเจี๊ยบเขียว โดยมี 4 การทดลองได้แก่ 1) ศึกษาคุณสมบัติของเปลือกไม้ลำไยและซังข้าวโพด และถ่านชีวภาพ (biochar) จากเปลือกไม้ลำไยและซังข้าวโพด พบว่า เปลือกไม้ลำไยและซังข้าวโพดมีปริมาณอินทรียวัตถุค่อนข้างสูงถึง 63.59-66.26% โดยที่ซังข้าวโพดและถ่านชีวภาพซังข้าวโพดมีปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด และปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดมากกว่าเปลือกไม้ลำไยและถ่านชีวภาพเปลือกไม้ลำไยและถ่านชีวภาพซังข้าวโพดมีปริมาณธาตุอาหารหลักมากที่สุด 12.95% 2) ศึกษาคุณสมบัติของปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไยโดยใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ พบว่า ปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไยที่ย่อยสลายด้วยเชื้อจาก พด.1 (กรมพัฒนาทีดิน) หรือเชื้อ Trichoderma harzianum มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดและปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด และปริมาณธาตุอาหารหลักมากกว่าปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไยที่เติมเชื้อ พด 1 + เชื้อ T. harzianum 3) ศึกษาการใช้วัสดุปลูกเปลือกไม้ลำไย ซังข้าวโพด ถ่านชีวภาพซังข้าวโพดต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของเมล่อนและกระเจี๊ยบเขียว พบว่า 3.1) วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมกาบมะพร้าวสับ:ทราย:เปลือกไม้ลำไย อัตราส่วน 1:1:0.2 และวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของกาบมะพร้าวสับ:ทราย:ซังข้าวโพดบดละเอียด:ถ่านชีวภาพซังข้าวโพด อัตราส่วน 0.5:1:0.5:0.2 ทำให้มีผลผลิตและคุณภาพดีกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ โดยมีน้ำหนักผล 1,059 และ 1,011 กรัม และมีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ 13.8 และ 14.1 %Brix 3.2) วัสดุปลูกที่มีเหมาะสมสำหรับกระเจี๊ยบเขียว พบว่า วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของกาบมะพร้าวสับ:ดิน:เปลือกไม้ลำไย 1:1:0.2 และ วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของกาบมะพร้าวสับ:ดิน:ซังข้าวโพดสับ:ถ่านชีวภาพซังข้าวโพด:ปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไย อัตราส่วน 0.5:0.5:0.5:0.5:0.2 ทำให้มีจำนวนฝักและน้ำหนักรวมมากที่สุด เท่ากับ 85 และ 73 ฝักต่อต้น และ1,415 และ 1,107 กรัมต่อต้น ตามลำดับ 4) ศึกษาผลของปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพของเมล่อนและกระเจี๊ยบเขียว ในระดับผู้ประกอบการ พบว่า ปุ๋ยหมักเปลือกไม้ลำไยที่หมักด้วยเชื้อ พด.1, เชื้อ T. harzianum และหมักด้วยเชื้อ พด. 1 + เชื้อ T. harzianum ทำให้ต้นเมล่อนและต้นกระเจี๊ยบมีการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีค่าต่ำกว่าการให้ปุ๋ยเคมี