Browsing by Author "วิโรจน์ ยิ้มขลิบ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) วิโรจน์ ยิ้มขลิบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods) โดยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) ตรวจสอบรูปแบบเชิงทฤษฎีของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 350 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) แบบเป็นขั้น (Stepwise) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย 1 ตัวแปร ได้แก่ การเห็นคุณค่าของตนเอง และปัจจัยภายนอก ประกอบดัวย 2 ตัวแปร ได้แก่ การสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัย และสิ่งแวดล้อมในการทำวิจัย 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) พบว่า ปัจจัยภายในและภายนอก จำนวน 3 ตัวแปร แสดงอิทธิพลของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีต่อสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ร้อยละ 38.70 และผลการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) พบว่า ปัจจัยภายในและภายนอก จำนวน 8 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ร้อยละ 62 และ 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากร โดยทรงคุณวุฒิ พบว่า การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุดโดยผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบ พบว่า การประเมิน ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด