Browsing by Author "วิโรจน์ ธิการ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการจัดการแบบประสานความร่วมมือเพื่อปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ :กรณีศึกษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) วิโรจน์ ธิการการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการแบบประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า ตามนโยบายคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และศึกษาปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินนโยบายด้านการป้องกันรักษาป่า ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่าในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 42 คน ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานของรัฐในสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำเนินการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยมีรูปแบบการประสานความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการ (เป็นหนังสือราชการ) และแบบไม่เป็นทางการในสถานการณ์เร่งด่วน (แบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) รวมถึงการประสานความร่วมมือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบเดียวกัน ผู้ปฏิบัติงานมีความเห็นตรงกันว่าการที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ทำให้การประสานความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในพื้นที่มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทุกหน่วยงานมีคำสั่งรองรับให้มีอำนาจหน้าที่เต็มในการปฏิบัติงานด้านป่าไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ตรวจยึด จับกุม ดำเนินคดีด้านป่าไม้ทั่วพื้นที่ และขอคืนพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก ยึดถือครอบครองโดยผิดกฎหมาย มาทำการฟื้นฟูสภาพให้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นพื้นที่ของรัฐและที่อำนวยประโยชน์แก่ส่วนรวม การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นทุกพื้นที่ ทำให้ประชาชน และกลุ่มลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเกิดความเกรงกลัวอำนาจรัฐไม่กล้ากระทำความผิด ทำให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่ากลับมาทวีความรุนแรงขึ้นอีก ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีภารกิจเพิ่มมากขึ้น ภายใต้งบประมาณที่เท่าเดิมหรือบางหน่วยงาน เช่น กำนันและผู้ใหญ่บ้าน แทบไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนนอกเหนือจากเงินเดือน ค่าตอบแทน ก็เป็นเพียงข้อจำกัดเล็กน้อยไม่เป็นปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด