Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "วิภาวรรณ แก้วมณีพร"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วิภาวรรณ แก้วมณีพร
    ปัญหาในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน เป็นปัญหาที่ในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมาย หรือมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด โดยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญานั้น มีแต่เพียงความผิดฐานกระทำอนาจารและความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราซึ่งองค์ประกอบความผิดในฐานดังกล่าวนั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงลักษณะการกระทำออนไลน์ไว้ นอกจากนี้ กฎหมายอาญาไม่ได้มุ่งเน้นที่จะป้องกันและแทรกแซง เพื่อไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่มุ่งเน้นลงโทษผู้กระทำความผิดเมื่อมีการกระทำความผิดขึ้นแล้วเท่านั้น อีกทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีบทลงโทษผู้ที่ล่อลวงเด็กและเยาวชนที่ค่อนข้างเบา ซึ่งไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำอีก จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด นอกจากนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 14 (4) นอกจากข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะอันลามก และจะต้องป็นข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้อีกด้วย ในกรณีที่เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ของตน โดยเฉพาะที่ไม่ได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเข้าถึงก็ย่อมไม่เป็นความผิด การล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน ผ่านทางวีดีโอคอลหรือผ่านทางเว็บแคม แต่รู้กันเพียงแค่ผู้กระทำความผิดกับเหยื่อเท่านั้น บุคคลภายนอกไม่อาจรับได้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 144) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 จึงไม่ครอบคลุมและไม่ได้คุ้มครอง ในกรณีการล่อลวงเพื่อละเมิดทางเพศออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะ เห็นได้ว่ากฎหมายใช้บังคับอยู่ไม่ครอบคลุม จึงทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย ส่งผลให้ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องบัญญัติฐานความผิดขึ้นใหม่ โดยเพิ่มเติมคำนิยามของ "การล่อลวงทางเพศออนไลน์" รวมไปถึงมาตรการลงโทษและเพิ่มโทษให้หนักขึ้น โดยผู้เขียนมีข้อเสนอให้บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายอาญา และระบุคำจำกัดความของคำว่า "การล่อลวงทางเพศออนไลน์" ซึ่งเป็นการเหมาะสมและช่วยแก้ไขปัญหาการล่อลวง เพื่อละเมิดทางเพศออนไลต่อเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback