Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "วินิตตา ลือชัย"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มจักสานในจังหวัดพะเยาด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) วินิตตา ลือชัย
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและบริบทของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนประเภทจักสานในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการของกลุ่มฯ ตามแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนประเภทจักสานในจังหวัดพะเยา จำนวน 6 กลุ่ม คัดเลือกตัวอย่างวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) จากประธานกลุ่ม กรรมการบริหารของกลุ่ม และสมาชิกกลุ่ม รวมทั้งหมด 60 คน และหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับกลุ่ม จำนวน 2 หน่วยงาน และทำการค้นคว้าข้อมูลของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมประเภทหัตถกรรมจักสาน จำนวน 2 หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 6 กลุ่มตัวอย่างมีจุดแข็ง คือ ด้านผู้นำกลุ่ม ด้านศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม และด้านวัสดุการผลิต ปัญหาและอุปสรรค 1. ขาดกำลังในการผลิต 2. ไม่มีทักษะในการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ 3. ผลิตภัณฑ์ไม่มีความแปลกใหม่ 4. ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบและชัดเจน แนวทางบริหารจัดการของกลุ่มควรมีรูปแบบ ดังนี้ 4.1. ด้านคน ควรมีการแต่งตั้งกรรมการและระบุหน้าที่ให้ชัดเจน 4.2. ด้านการตลาด ควรส่งเสริมความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ 4.3. ควรมีการวางระบบงานที่ชัดเจน โดยมีกำหนดแผนไปสู่การปฏิบัติจริง ประเด็นการปรับเข้าสู่แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม พบว่า กลุ่มส่วนใหญ่ยังมี 1. รายได้ไม่มั่นคง เกิดจาก 1.1. ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ 1.2. ขาดการสื่อสารรับรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมของสินค้า 1.3. ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 2. ยังไม่มีการนำรายได้หรือผลกำไรที่ได้ส่วนหนึ่งไปลงทุนซ้ำ 3. ยังไม่มีผลการดำเนินการอย่างโปร่งใส รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนประเภทจักสาน ควรปรับรูปแบบธุรกิจเป็นรูปแบบที่มีตลาดเป็นสื่อกลาง เนื่องจากกลุ่มส่วนใหญ่ไม่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่มีตลาดเป็นสื่อกลาง จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปถึงลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายขึ้นซึ่งจังหวัดพะเยามีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา และการตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนที่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนประเภทจักสาน ในจังหวัดพะเยาขอรับการสนับสนุนได้ คือ บริษัทประชารัฐสามัคคีพะเยา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback