Browsing by Author "วิชัย มันจันดา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) วิชัย มันจันดาการศึกษาเรื่อง การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 238 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” 2) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพะเยา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ด้านหลักสูตร ด้านความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี ดังนี้ 1) ด้านผู้สำเร็จการศึกษาผู้เรียนมีทักษะเฉพาะด้าน ในด้านที่ตัวเองฝึกปฏิบัติอาชีพในสถานประกอบการทำให้ขาดทักษะในด้านอื่น ๆ และผู้เรียนขาดการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาในด้านอื่น ๆ กับทางสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรการสอนในสถานประกอบการไม่สอดคล้องกับแผนฝึกอาชีพ 3) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และสถานประกอบการสถานประกอบการบางแห่งยังไม่มีความเข้าใจ เรื่องการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล ครูผู้สอนไม่สามารถไปนิเทศตามเกณฑ์ 3 ครั้งในหนึ่งภาคเรียนได้ และไม่มีการนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียน 4) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ดังนี้ 1) ด้านผู้สำเร็จ การศึกษาหลังจากฝึกอาชีพเสร็จควรมีการประเมินความรู้ และจัดอบรมในส่วนที่ผู้เรียนขาดหาย และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกับสถานประกอบการ และให้สถานประกอบการประเมินให้สถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรก่อนฝึกอาชีพ ควรมีการจัดทำแผนร่วมก่อนฝึกอาชีพ และครูนิเทศติดตามผลตามแผนการฝึกอาชีพ 3) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และสถานประกอบการจัดประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีก่อนส่งผู้เรียนออกฝึก อาชีพที่สถานประกอบการ 4) ด้านการวัดผลและประเมินผลนิเทศทางสื่อสังคมออนไลน์ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ร่วมสถานประกอบการ และหลังจากมีการฝึกอาชีพเสร็จสิ้นแล้ว ควรจัดประชุมเพื่อวิเคราะห์การประเมินผู้เรียน