Browsing by Author "วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการวิเคราะห์สัมพันธสารของข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาษีบนทวิตเตอร์: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์เชิงระบบและหน้าที่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุลงานวิจัยนี้ศึกษาอภิหน้าที่ของภาษาที่ปรากฏในข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาษีของคนไทยบนทวิตเตอร์ และมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ระบบใจความหลัก ระบบทัศนคติ ระบบชนิดกระบวนการ และกลวิธีทางภาษา กลุ่มตัวอย่างข้อมูล คือ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาษีในระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 จำนวน 1,447 ทวีต โดยใช้แนวคิดภาษาศาสตร์เชิงระบบ และหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยของระบบใจความหลัก พบใจความหลักแสดงเรื่อง จำนวน 984 ทวีต (ร้อยละ 68.00) ใจความหลักแสดงปฏิสัมพันธ์ จำนวน 309 ทวีต (ร้อยละ 21.36) และใจความหลักแสดงตัวบท จำนวน 154 ทวีต (ร้อยละ 10.64) ตามลำดับ โดยพบชนิดกระบวนการที่เกี่ยวกับการกระทำในใจความหลักแสดงเรื่องมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นการใช้คำกริยาในใจความหลักโดยละประธาน หรือผู้กระทำที่ผู้เขียนและผู้อ่านรับรู้ร่วมกัน ส่วนระบบทัศนคติ พบการประเมิน จำนวน 704 ถ้อยคำ (ร้อยละ 41.98) อารมณ์ จำนวน 532 ถ้อยคำ (ร้อยละ 31.72) และความนิยม จำนวน 441 ถ้อยคำ (ร้อยละ 26.30) ตามลำดับ โดยพบการวิจารณ์ความสามารถของเจ้าหน้าที่ของรัฐมากที่สุด ส่วนระบบชนิดกระบวนการ พบชนิดกระบวนการที่เกี่ยวกับการกระทำมากที่สุด จำนวน 6,329 คำ (ร้อยละ 58.71) ความคิดความรู้สึก จำนวน 1,212 คำ (ร้อยละ 11.24) การมีอยู่หรือเกิดขึ้น จำนวน 1,004 คำ (ร้อยละ 9.32) ความสัมพันธ์ จำนวน 991 คำ (ร้อยละ 9.19) การพูด จำนวน 624 คำ (ร้อยละ 5.79) และพฤติกรรม จำนวน 620 คำ (ร้อยละ 5.75) ตามลำดับ โดยข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาษีเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะการทำงานของรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนกลวิธีทางภาษาพบ การเลือกใช้คำ การเป็นภาพตัวแทนบุคคล การใช้มูลบท การใช้อุปลักษณ์ การใช้ทัศนภาวะ การปฏิเสธ การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การใช้สหบท และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาษีตามแนวคิดภาษาศาสตร์เชิงระบบ และหน้าที่ได้สะท้อนอุดมการณ์เกี่ยวกับภาษี 2 ประการ ได้แก่ 1) ภาษีกับประชาชน และ 2) ภาษีกับรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร เพื่อสร้างความมั่นใจและแสดงให้ผู้เสียภาษีเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากเงินภาษีที่จ่ายไปอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น