Browsing by Author "วาสนา ขวัญทองยิ้ม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) วาสนา ขวัญทองยิ้มการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางในการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทย 3) ศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย 4) ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดสงขลา 5) ศึกษาอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา 6) หาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา 400 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีเปรียบเทียบ ของ Scheffe ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน นักวิชาการ และ NGO รวมจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และมีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เดินทางโดยเครื่องบิน และเลือกเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ระยะเวลาในการพำนักไม่เกิน 2 วัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในช่วงต่ำกว่า 3,000 บาท นิยมเดินทางกับกลุ่มเพื่อน และมักเลือกท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น ตลาดน้ำ และย่านเมืองเก่า 2) ระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อระดับ ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านลักษณะเฉพาะของพื้นที่ 3) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อระดับความสำคัญของแรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านกิจกรรมสนับสนุนในการท่องเที่ยว 4) ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลาในภาพรวมมีความโดดเด่นในด้านแหล่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ด้านที่พักในแหล่งท่องเที่ยว แต่สิ่งที่ควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริม ได้แก่ การเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สถานที่จอดรถ ต้องมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ 5) อัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลามีความโดดเด่นทั้งในด้านอาหารท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยว และวัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวได้อย่างมาก 6) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลาด้วยรูปแบบ FINE SITE Model โดยมี 10 กลยุทธ์ 36 โครงการ ประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวก (F : Facility) การประชาสัมพันธ์ (I : Information) การตลาดเฉพาะกลุ่ม (N : Niche) การเรียนรู้ (E : Education) การทำงานร่วมกัน (S : Synergy) การบูรณาการ (I : Integration) ระบบการขนส่ง (T : Transportation) และความรู้สึก (E : Emotion)