Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "วรินทร ซอกหอม"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ระบบยืมคืนครุภัณฑ์งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วรินทร ซอกหอม
    การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อระบบยืมคืนครุภัณฑ์งานเทคโนโลยีสารสนทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานให้คล่องตัวขึ้น และเป็นการจัดทำฐานข้อมูลครุภัณฑ์งานเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้งานในด้านอื่น ๆ ต่อไป การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อม และติดตามงานอาคารสถานที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ใช้หลักการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศเชิงวัตถุ (OOP: Object Oriented Programming และระเบียบวิธีพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอจาย (Agile Methodology) ใช้ภาษาโปรแกรม PHP (Personal Home Page) ในรูปแบบกรอบการดำเนินงาน Laravel Framework จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบระบบฐานข้อมูล (Database System) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเป็นเครื่องมือ ในการจัดการระบบฐานข้อมูลของการพัฒนาระบบหลังจากได้ทำการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้ศึกษาได้ให้ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มทำการทดสอบการทำงานของระบบที่จัดทำขึ้น โดยมี 4 กลุ่มผู้ใช้งาน คือ ผู้ใช้งานระบบหัวหน้างาน คณบดี และผู้ดูแลระบบ ผลปรากฏว่าสามารถใช้ในการดำเนินงานตามขั้นตอนการยืมคืนครุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยพะเยาในรูปแบบระบบสารสนเทศได้ และผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยในด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ด้านความถูกต้องและประสิทธิภาพการทำงานของระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 และด้านประโยชน์ของการนำมาใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อมและติดตามงานอาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ภานุวัฒน์ โลมากุล; วรินทร ซอกหอม
    การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้บริการด้านการประสานงานแจ้งซ่อมระหว่างกองอาคารสถานที่ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อช่วยให้ตรวจสอบ แสดงสถานการณ์ดำเนินการประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ภายในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านการแจ้งซ่อมและการติดตามการดำเนินงานช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วและข้อมูลที่มีความถูกต้องและตรวจสอบได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อมและติดตามงานอาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ได้นำเสนอแผนภาพการออกแบบระบบสารสนเทศเชิงวัตถุ (Object Oriented Design) ดำเนินการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศด้วยหลักคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบวงจรการพัฒนาระบบ ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบพีเอชพี (PHP) เป็นเครื่องมือในการจัดการระบบฐานข้อมูลของการพัฒนาระบบ หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ ผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบการใช้งานระบบโดยผู้ใช้งาน เพื่อทำการทดสอบการทำงานของระบบที่จัดทำขึ้น ผลปรากฏว่า ด้านการนำมาใช้งาน ในด้านการทดสอบดำเนินงานประสานติดตามการแจ้งซ่อมงานอาคารสถานที่ภายในคณะฯ เกิดความสะดวกและตรวจสอบการดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้จริงและเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมีความพึงพอใจในด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ด้านประโยชน์ของการนำมาใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 และด้านความถูกต้องและประสิทธิภาพการทำงานของระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback