Browsing by Author "วรางคณา ทะลิ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเปรียบเทียบสารประกอบฟีนอลิกรวม และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของพรอพอลิสในชันโรง 3 สกุล (Homotrigona Tetrigona และ Tetragonilla)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) วรางคณา ทะลิพรอพอลิส (propolis) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเก็บยางไม้ของชันโรง ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญทางเศษฐกิจเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น การแพทย์ และการผลิตเครื่องสำอาง วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อทำการสกัดสารด้วยเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 70 ในอัตราส่วนพรอพอลิส 1 กรัม ต่อเอทานอล 10 มิลลิลิตร แล้วทำให้แห้งด้วยเครื่องระเหยระบบสูญญากาศแบบหมุน อีกทั้งตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ของพรอพอลิสจากปากทางเข้ารังชันโรงแตกต่างกัน 3 สกุล ได้แก่ Homotrigona, Tetrigona และ Tetragonilla ผลของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิก รวมมีค่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมอยู่ที่ 12.78 ถึง 18.65 (mg GAE/g) ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระวิเคราะห์ด้วยวิธี DPPH จะให้ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 10,383.64 ถึง 64,100.00 มิลลิกรัมต่อลิตร การวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระวิเคราะห์ด้วยวิธี ABTS จะให้ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า TEAC อยู่ที่ 0.0580 ถึง 0.1481 มิลลิโมลาร์ โดยที่ค่าเฉลี่ยของสารฟีนอลิกรวมและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ [(mg GAE/g), IC50, TEAC)] ของสารสกัดพรอพอลิสสูงสุดในสกุล Homotrigona [(17.630 mg GAE/g), IC50= 20,298.79 ppm., TEAC=0.120 mM)] รองลงมาสกุล Tetragonilla [(17.307 mg GAE/g), IC50=29,926.67 ppm., TEAC=0.107 mM)] และ Tetrigona [(14.5167 mg GAE/g), IC50=46,896.67 ppm., TEAC= 0.0797 mM)] ตามลำดับ การศึกษาสรุปได้ว่าองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของพรอพอลิสแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดชันโรงมากกว่าแหล่งที่ตั้งรังของชันโรง