Browsing by Author "วรรณิกา อิ่มเจริญ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemวิเคราะห์การสูญเสียห่วงโซ่อุปทานข้าวและผลกระทบต่อการสูญเสียทรัพยากรน้ำและที่ดินที่เกี่ยวข้อง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วรรณิกา อิ่มเจริญในการประเมินปริมาณการสูญเสียของห่วงโซ่อุปทานข้าว ประเมินผลกระทบต่อการสูญเสียทรัพยากรน้ำ และที่ดินที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และพิษณุโลก ในปีเพาะปลูก 2560/61 โดยทำการหาปริมาณการสูญเสียขั้นตอนกระบวนการผลิตข้าวในนาข้าว และขั้นตอนกระบวนการสีข้าว พบว่า จากผลผลิตข้าวเปลือกของทั้ง 4 จังหวัด 3,188,435 ตัน/ปี มีปริมาณการสูญเสียของข้าวเปลือกเท่ากับ 312,409 ตัน/ปี (คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยวทั้งหมด) ส่งผลให้เกิดการสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 506,092 ไร่/ปี อีกทั้งยังส่งผลต่อการสูญเสียทรัพยากรน้ำทางตรง 81,728,007 ลูกบาศก์เมตร/ปี และส่งผลต่อการสูญเสียทรัพยากรน้ำทางอ้อม 1,217,145 ลูกบาศก์เมตร/ปี โดยขั้นตอนที่มีปริมาณการสูญเสียข้าวเปลือกมากที่สุด ได้แก่ ขั้นตอนกระบวนการผลิตข้าวในนา มีปริมาณการสูญเสียเท่ากับ 302,612 ตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 96.86 ของการสูญเสียข้าวเปลือกทั้งหมด (ส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียในขณะเก็บเกี่ยว) และขั้นตอนกระบวนการสีข้าว มีปริมาณการสูญเสียเท่ากับ 9,797 ตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 3.14 ของของการสูญเสียข้าวเปลือกทั้งหมด ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการลดปริมาณการสูญเสียของข้าวเปลือก 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพของรถเกี่ยวข้าวไทยประดิษฐ์ให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับรถเกี่ยวข้าวญี่ปุ่น ทำให้ปริมาณการสูญเสียข้าวเปลือกตลอดห่วงโซ่อุปทานข้าวลดลงจาก 312,409 ตัน/ปี เหลือปริมาณการสูญเสียข้าวเปลือก 242,039 ตัน/ปี ซึ่งสามารถลดปริมาณการสูญเสียได้ร้อยละ 22.52 แนวทางที่ 2 การลดความเร็วของรถเกี่ยวข้าว ทำให้มีปริมาณการสูญเสียข้าวเปลือกตลอดห่วงโซ่อุปทานข้าวเท่ากับ 264,785 ตัน/ปี ซึ่งสามารถลดปริมาณการสูญเสียได้ ร้อยละ 15.13 แนวทางที่ 3 ทำการเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ทำให้มีปริมาณการสูญเสียข้าวเปลือกตลอดห่วงโซ่อุปทานข้าวเท่ากับ 299,822 ตัน/ปี ซึ่งสามารถลดปริมาณการสูญเสียได้ร้อยละ 4.03 และแนวทางที่ 4 ทำการตรวจเช็คและซ่อมบำรุงเครื่องจักรในโรงสีข้าวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีปริมาณการสูญเสียข้าวเปลือกตลอดห่วงโซ่อุปทานข้าวเท่ากับ 312,010 ตัน/ปี ซึ่งสามารถลดปริมาณการสูญเสียได้ร้อยละ 0.13 ทั้งนี้การสูญเสียของพื้นที่เพาะปลูกและทรัพยากรน้ำมีปริมาณลดลงเป็นสัดส่วนเดียวกันกับข้าวเปลือก