Browsing by Author "วรรณา เสริมสุข"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาความคิดเห็นต่อการทดสอบภาษาอังกฤษโดยใช้ Speexx Program ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วรรณา เสริมสุขการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการทดสอบภาษาอังกฤษโดยใช้ Speexx Program ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งเพศชาย และเพศหญิง และเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการทดสอบภาษาอังกฤษโดยใช้ Speexx Program ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา โดยจำแนกตามเพศ และชั้นปีการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาทั้งเพศชายและเพศหญิง ทุกชั้นปีที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาที่สมัครเข้ารับการทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนิสติระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 314 คน แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลตามระดับความคิดเห็นคิดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ รวมทั้งมีการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 33 คน ที่ตอบแบบสอบถามที่มีคะแนนสูงสุด มีคะแนนปานกลาง และมีคะแนนน้อยสุดของแต่ละชั้นปี โดยสรุปเป็นประเด็นสำคัญ จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านวิธีการสอบ ด้านข้อสอบ ด้านเวลาและสถานที่ และด้านสื่อและอุปกรณ์ ผลการวิจัยจากแบบสอบถามสรุปได้ ดังนี้ 1) เพศชายและเพศหญิง เห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.63) ต่อการทดสอบภาษาอังกฤษโดยใช้ Speexx Program ทั้ง 4 ด้าน 2) ชั้นปีที่เหมือนกันทั้งเพศ ชายและเพศหญิง เห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.59) ต่อการทดสอบภาษาอังกฤษโดยใช้ Speexx Program ทั้ง 4 ด้าน 3) ชั้นปีที่ต่างกันของเพศชายเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60) ต่อการทดสอบภาษาอังกฤษโดยใช้ Speexx Program ทั้ง 4 ด้าน 4) ชั้นปีที่ต่างกันของเพศหญิงเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64) ต่อการทดสอบภาษาอังกฤษ โดยใช้ Speexx Program ทั้ง 4 ด้าน ผลสรุปจากการสัมภาษณ์ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) นิสิตเพศชายและเพศหญิงที่มี คะแนนสูงสุด เห็นว่าวิธีการสอบเข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องกังวลเรื่องการเตรียมอุปกรณ์ในการสอบ ทำให้ไม่กดดันและไม่เครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถกลับไปทบทวน หรือตรวจสอบความถูกต้องได้ ประกอบกับเนื้อหาที่ใช้สอบครอบคลุมบทเรียนทั้ง 4 ทักษะ ทำให้เข้าใจเนื้อหาข้อสอบเวลาและสถานที่ไม่มีผลต่อคะแนนการสอบ เพราะถ้าเข้าใจเนื้อหาข้อสอบก็จะได้ผลคะแนนดี ถึงแม้ว่าความเสถียรของระบบคอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นระหว่างการทดสอบ 2) นิสิตเพศชายและเพศหญิงที่มีคะแนนปานกลางเห็นว่าวิธีการสอบเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ยังมีความกังวลสำหรับการสอบผ่านคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่มีสมาธิในการสอบมีเสียงรบกวนจากเสียงแป้นพิมพ์ เสียงคลิกเมาส์ ระบบอินเตอร์เน็ตไม่มีความเสถียร ประกอบกับข้อสอบมีทั้งยากและง่าย จะทำให้ขาดสมาธิในการสอบเป็น ระยะ ๆ 3) นิสิตเพศชายและเพศหญิงที่มีคะแนนน้อยสุดเห็นว่า วิธีการสอบมีความยุ่งยาก ประกอบกับข้อสอบมีความยากอ่านแล้วตีความไม่ได้ ทำให้ไม่มั่นใจในคำตอบจะใช้วิธีการเดาคำตอบมากกว่าใช้ความเข้าใจยิ่งถ้าในห้อง สอบมีเสียงคลิกเมาส์ เสียงแป้นพิมพ์ และอินเตอร์เน็ตขาดความเสถียรยิ่งจะทำใหเ้กิดความกังวลต่อการสอบ
- Itemการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) วรรณา เสริมสุขการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา การวิจัยในครั้งนี้ มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ จากกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 34 คน จากเครือข่ายวิเทศสัมพันธ์ ในลักษณะของข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 5 คน จากผู้ที่ตอบแบบสอบถามที่มีคะแนนสูงสุดของ 3 กลุ่มสาขาวิชาของคณะ/วิทยาลัย/โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มสาขาวิชามนุษย์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิเทศสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐานประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยใช้การวิเดราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยจากแบบสอบถาม พบว่า เพศชายและเพศหญิง สังกัดแต่ละคณะวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิเทศสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยภายใน (SWOT) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.19) ด้านปัจจัยภายนอก (PESTEL) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.45) ด้านการบริหารงาน (PDCA) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.53) ในส่วนผลของข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านปัจจัยภายใน (SWOT) ในองค์กรยังคงมีแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นสากลอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องด้วยโครงสร้างองค์กรด้านงานวิเทศสัมพันธ์ยังคงมีความไม่ชัดเจน ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ยังอยู่ระดับปานกลาง ทำให้การดำเนินงานการปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ยังมีลำดับขั้นตอนการดำเนินงานไม่ครอบคลุม ประกอบกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์มีความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยภายนอก (PESTEL) มีผลต่อการพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์โลกปัจจุบันส่งผลต่อการขาดความต่อเนื่อง ในการปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ในองค์กรเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การประสานงานและความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกขาดความต่อเนื่อง ทำให้การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาด้านความเป็นสากลในองค์กรยังอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงาน (PDCA) มีผลต่อการพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา ถ้าในองค์กรการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านความเป็นสากลยังมีความไม่ชัดเจน การบริหารงานด้านความป็นสากลยังคงต้องพัฒนา และเตรียมพร้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความเป็นสากลต่อไป