Browsing by Author "วชิรา สุภาสอน"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemหัวตรวจจับก๊าซที่อุณหภูมิห้องที่มีฐานเป็นทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าชนิดอินทรีย์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) วชิรา สุภาสอนในงานวิจัยนี้ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าชนิดอินทรีย์ถูกสร้างแบบเกทอยู่ด้านล่างโดยมีช่องนำกระแสเป็นพอลิเมอร์ชนิดพี โดยเริ่มจากการสร้างชั้นไดอิเล็กทริกบนกระจกโปร่งแสงนำไฟฟ้า FTO ด้วย PMMA ที่มีมวล 120 กรัม ละลายในไดคลอโรเบนซีนปริมาตร 1 มิลลิลิตร จากนั้นทำการหมุนเคลือบลงบนกระจกโปร่งแสงนำไฟฟ้า FTO ด้วยความเร็วเชิงมุม 1,500 รอบ ต่อนาที เป็นเวลา 30 วินาที จากนั้นสร้างชั้นไดอิเล็กทริกชั้นที่สองด้วย PVA ที่มีมวล 10 กรัม ละลายในน้ำ DI ปริมาตร 50 มิลลิลิตร จากนั้นทำการหมุนเคลือบลงบนกระจกโปร่งแสงนำไฟฟ้า FTO ด้วยความเร็วเชิงมุม 1,500 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 วินาที ต่อมาสร้างชั้นช่องนำกระแส ด้วย P3HT ทำการหมุนเคลือบ P3HT ลงบนชั้น PVA ด้วยความเร็วเชิงมุม 1,500 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 วินาที ขั้นตอนสุดท้ายทำการสร้างขั้วด้วยเงินลงบนชิ้นงานเพื่อสร้างขั้วของเดรน, ซอสและเกท ลักษณะการตรวจจับก๊าซของทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้องมีการเปลี่ยนแปลงแรงดันขีดเริ่มภายใต้สภาวะก๊าซ เมื่อทดสอบกับก๊าซเอทานอลที่มีความเข้มข้น 1,000 ppm พบว่า ค่าแรงดันขีดเริ่มเปลี่ยนค่าจาก 6.5 V เป็น 7 V, 4 V เป็น 4.5 V และ 6 V เป็น 8 V สำหรับชิ้นงานที่มีช่องนำกระแสเป็น P3HT, P3HT:RGO และ PCDTBT ตามลำดับ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของพาหะบนชั้นนำกระแสในสภาวะก๊าซเอทานอล ซึ่งก๊าซเอทานอลจะให้อิเล็กตรอนกับชั้นนำกระแส ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าระหว่างขั้วเดรนกับขั้วซอสสูงขึ้น จากผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้