Browsing by Author "ลลิตา ลามะพรม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemวิธีการสกัดที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยอาหารละลายน้ำจากหน่อไม้เศษเหลือ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ลลิตา ลามะพรมหน่อไม้เศษเหลือจากอุตสาหกรรมแปรรูปมีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ แต่ยังมีเส้นใยอาหารเป็นองค์ประกอบที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย จึงเป็นที่น่าสนใจในการเพิ่มมูลค่าผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปนี้ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยอาหารละลายน้ำจากหน่อไม้เศษเหลือ ผลผลิตของเส้นใยอาหารละลายน้ำสูงสุดเท่ากับ 6.67 กรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสดคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหารละลายน้ำ ได้แก่ การละลายน้ำ (WS) การอุ้มน้ำ (WHC) และการอุ้มน้ำมัน (OBC) ค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.82, 22.45 และ 12.80 กรัมต่อกรัม ตามลำดับ โดยสกัดเส้นใยอาหารละลายน้ำด้วยเอนไซม์จากหน่อไม้เศษเหลือ 2 ลักษณะ คือ แบบชิ้น (ส่วนฐานของหน่อไม้) และแบบฝอย (ส่วนเนื้ออ่อนของหน่อไม้) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยอาหารละลายน้ำทั้งสองแบบที่สกัดด้วยเอนไซม์ที่ระยะเวลา 1 ชั่วโมง มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็ก ในขณะที่เมื่อเพิ่มระยะเวลาการสกัดเป็น 2 และ 3 ชั่วโมง ลักษณะของเส้นใยอาหารเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายคริสตัล ตามลำดับ ผลศึกษาคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกของเส้นใยอาหารละลายน้ำจากหน่อไม้เศษเหลือแบบชิ้นและแบบฝอย พบว่า จุลินทรีย์ L. plantarum กลุ่มควบคุม (24 ชั่วโมง) มีปริมาณค่าเฉลี่ยเชื้อ 2.83x109 CFU/mL เทียบกับ L. plantarum เลี้ยงร่วมกับเส้นใยอาหารละลายน้ำแบบชิ้นหรือแบบฝอย พบว่า มีจำนวนโคโลนีของเชื้อจุลินทรีย์มากจนไม่สามารถนับได้ และจุลินทรีย์ B. longum กลุ่มควบคุม (48 ชั่วโมง) มีปริมาณค่าเฉลี่ยเชื้อ 4.40x108 CFU/mL เทียบกับ B. longum ที่เลี้ยงร่วมกับเส้นใยอาหารละลายน้ำแบบชิ้นที่ได้จาก Treatment 1512, Treatment 2411 และ Treatment 3411 มีปริมาณค่าเฉลี่ยเชื้อ 7.65x107 CFU/mL, 2.07x109 CFU/mL และ 2.48x108 CFU/mL ตามลำดับ ในขณะที่เมื่อเลี้ยงร่วมกับเส้นใยอาหารละลายน้ำแบบฝอย พบว่า มีจำนวนโคโลนีของเชื้อจุลินทรีย์มากจนไม่สามารถนับได้ แสดงให้เห็นว่า เส้นใยอาหารละลายน้ำที่ผลิตจากหน่อไม้เศษเหลือสามารถส่งเสริมการเจริญของเชื้อโพรไบโอติกได้ และมีศักยภาพในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพได้