Browsing by Author "รัตน์ธนาพร ยองเพชร"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมีและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) รัตน์ธนาพร ยองเพชรการวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจค่าบ่งชี้ทางเคมี และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ดำเนินการในอำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย จำนวน 422 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.3 มีอายุเฉลี่ย 62.2 ปี มีปัญหาการนอนหลับร้อยละ 19.9 มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอยู่ในระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร้อยละ 61.4 และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอยู่ในระดับ 7-8.9% ร้อยละ 81.50 ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนทางไต อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 43.6 สำหรับโครงสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค พบว่า คะแนนการรับรู้ความรุนแรงมีระดับต่ำ ร้อยละ 75.1 การรับรู้โอกาสเสี่ยงมีระดับปานกลาง ร้อยละ 57.3 ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง และความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตมีระดับสูง ร้อยละ 38.4 และ 45.3 พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระดับปานกลาง 61.4 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมีและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต พบว่า รายได้ (B = 0.15) และแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (B = 0.71) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (R² = 0.670) อายุ (B = -0.73) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (B = -1.15) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือดส่วนปัญหาการนอนหลับ (B = 10.71) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (R² = 0.143) เพศหญิ ง (B = -0.26) สถานภาพสมรสคู่ (B = -0.24) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (B = -0.09) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และปัญหาการนอนหลับ (B = 0.42) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (R² = 0.416) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุปผลการศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของความรู้เรื่องโรคเบาหวานและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพควรเน้นในเพศหญิงเพื่อให้มีความรู้อย่างต่อเนื่องนำไปสู่การเพิ่มความตระหนักถึงความรุนแรงภาวะแทรกซ้อนของโรค ส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่