Browsing by Author "รัตนา บุญเลิศ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) รัตนา บุญเลิศงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในปัจจุบันของบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนจำนวน 11 คน และประชากรนักท่องเที่ยว จำนวน 3,801 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 362 คน มีวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยทำให้ได้ทราบสถานการณ์ว่าในอดีตชุมชนบ้านท่าขันทอง ได้รับการพัฒนามาตรฐานพัฒนาโฮมสเตย์ ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มีคณะมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแซว เป็นผู้ประสานงานระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชน ต่อมามีปัญหาด้านการจัดการกระจายรายการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงของสมาชิก และการพัฒนาชุมชนที่ไม่มีการวิเคราะห์รอบด้านทำให้ปัจจุบันสมาชิกแยกตัวมาตั้งกลุ่มใหม่ในปี พ.ศ. 2561 ได้ตั้งคณะกรรมการโฮมสเตย์และการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านท่าขันทอง แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่ดี เช่น ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ การกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ชัดเจน ขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ขาดการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์ ระบบการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ ด้านการเงินการกระจายรายได้ที่เป็นระบบ จากการศึกษาข้อมูลของนักท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เดินทางมาเพื่อประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ที่เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำโขง รองลงมา คือ ด้านกิจกรรม (Amenities) ชมวิถีชีวิตของชุมชน อาหาร การแต่งกายที่มีเอกลักษณ์ รองลงมา ได้แก่ ด้านการเข้าถึง (Accessibilities) ที่มีความสะดวกเข้าถึงง่าย และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ด้านที่พักโฮมสเตย์ที่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวตามลำดับ ส่วนแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านท่าขันทองที่ต้องพัฒนาเป็นอันดับแรก คือ ด้านการบริหารจัดการ (Administration) ที่ดีมีมาตรฐานดังที่กล่าวมาข้างต้นมีการสร้างแบรนด์ที่ให้เป็นที่จดจำ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเป็นองค์ประกอบที่ใช้พัฒนาจุดดึงดูดใจ เช่น จุดถ่ายภาพริมโขง การพัฒนาการเข้าถึงทางน้ำ พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ พัฒนาโฮมสเตย์ให้เพียงพอรองรับนักท่องเที่ยว มีร้านอาหาร ห้องน้ำเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาแบบส่วนตัว และส่งเสริมการจัดการที่ดี โดยเฉพาะการจัดการด้านการเงินที่เป็นธรรม กระจายผลประโยชน์มีกองทุนสำหรับอาชีพในชุมชน มีการจัดการด้านการตลาดอย่างมีระบบ