Browsing by Author "รัตนพงศ์ คำเผ่า"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) รัตนพงศ์ คำเผ่าการศึกษาวิจัยครั้งนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การศึกษาทักษะการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับทักษะการจัดการตนเอง และระดับคุณภาพชีวิต เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง คุณภาพชีวิตกับทักษะการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุตอนต้น (ช่วงอายุระหว่าง 60–70 ปี) จำนวนทั้งหมด 156 คน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Pearson’s Correlation ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตโดยรวม และเมื่อจำแนกรายด้าน ส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และทักษะการจัดการตนเองอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงคุณภาพชีวิตโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อทักษะการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 อีกทั้งคุณภาพชีวิตด้านสังคม มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อทักษะการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ตอนที่ 2 ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ การจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ การจัดการตนเองในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุตอนต้น (ช่วงอายุระหว่าง 60–70 ปี) จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน ที่ร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ การจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน ที่ได้รับการพยาบาลปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถามและวัดความดันโลหิต ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test, independent T-test และ paired T-test ผลการวิจัยพบว่า หลังสิ้นสุดโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองมีระดับความดันซิสโตลิคและระดับความดันไดเอสโตลิค ลดลงต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อวิเคราะห์กับกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีเพียงระดับความดันซิสโตลิคที่ลดลงต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตก่อนกับหลังการทดลอง พบว่า ด้านร่างกายและด้านจิตใจของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อวิเคราะห์กับกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ