Browsing by Author "รักษ์คณา ติ๊บมา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) รักษ์คณา ติ๊บมาการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานในตำแหน่ง 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสอบถาม คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล จำแนกตามระดับการศึกษา ระดับสภาพการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงานในตำแหน่ง ในภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางในการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนประถมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียน จากแบบสอบถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ควรมีการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ที่สามารถบอกถึงกระบวนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จองค์กรได้ ต้องมีวิธีการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบมีคุณภาพ มีการเผยแพร่ และแนะนำให้บุคลากรในโรงเรียนอย่างทั่วถึง มีความต่อเนื่อง เป็นระบบ ทันสมัยตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 2) การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรสามารถสะท้อนผลสำเร็จขององค์กร ให้ได้รับทราบและชัดเจนโดยทั่วถึงเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน ให้มีส่วนวิเคราะห์ SWOT เพื่อวางแผน การนำจุดเน้นต่าง ๆ มาตอบสนองความต้องการของตลาด ชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน และ 3) การมุ่งเน้นบุคลากร ควรสนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ ความก้าวหน้า การเลื่อนตำแหน่ง ของบุคลากรทุกตำแหน่งในองค์กร และมีการจัดสรรตำแหน่งครูผู้สอนเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ให้ตรงกับความรู้ความสามารถและความถนัด อย่างมีประสิทธิภาพทำงานอย่างเป็นระบบ