Browsing by Author "รวิวรรณ อินน้อย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประเมินผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพประชาชนภาคเหนือตอนบนประเทศไทยในปี 2562(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) รวิวรรณ อินน้อยสถานการณ์มลพิษอากาศภาคเหนือประเทศไทย ยังคงเป็นปัญหาในทุก ๆ ปี โดยพบความเข้มข้นของ PM2.5 ค่าเฉลี่ยรายวันสูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) และค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 ประเทศไทยได้มีการปรับค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 ในให้เข้มงวดขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศ ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน การศึกษานี้จึงประเมินผลกระทบ PM2.5 ต่อการเสียชีวิตทุกกลุ่มโรคที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ การเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ และการติดเชื้อในกระแสเลือดของประชาชน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนในปี พ.ศ. 2562 ด้วยแบบจำลอง The Environmental Mapping and Analysis Program (BenMAP-CE) ผลการศึกษาพบว่า การควบคุมลดระดับ PM2.5 มาที่ค่ามาตรฐานที่สูงขึ้น ทำให้ช่วยหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตที่มากขึ้น การเพิ่มการควบคุมสถานการณ์จากที่ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เป็น 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการเสียชีวิตจากทุกโรคที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ และการติดเชื้อในกระแสเลือดจาก 1,680, 117, 51 และ 237 ราย เป็น 1,872, 130, 57 และ 265 ราย ตามลำดับ และกรณีควบคุมตามค่า Final guideline ของ WHO ที่ 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ช่วยลดความเสี่ยงเสียชีวิตได้ 2,177, 150, 66 และ 306 ราย ตามลำดับ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบสุขภาพจาก PM2.5 มากพบในจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมาก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ในขณะที่เมื่อพิจารณาความเสี่ยงด้วยอัตราผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพต่อแสนประชากร พบความเสี่ยงสูงในจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงของมลพิษทางอากาศสูง ประกอบกับมีอัตราอุบัติการณ์ของการเสียชีวิตในแต่ละโรคสูง จะสามารถหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตในแต่ละโรคได้มากที่สุด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เป็นต้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นผลกระทบอย่างมากของ PM2.5 ต่อการเสียชีวิตประชาชนภาคเหนือ การควบคุมลดความเข้มข้น PM2.5 เข้มข้นมากขึ้นสามารถช่วยลดผลกระทบสุขภาพและข้อมูลสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจพัฒนานโยบาย และกำหนดเป้าหมายมาตรฐาน PM2.5 ดูแลสุขภาพประชาชนให้ดียิ่งขึ้น