Browsing by Author "รมิตา เหลี่ยมแฉ่ง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemความสัมพันธ์ของความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์และคุณภาพน้ำจากหนองเล็งทรายจนถึงกว๊านพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) รมิตา เหลี่ยมแฉ่งการศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ และความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์จากหนองเล็งทรายจนถึงกว๊านพะเยา ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พบว่า อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลมีผลต่อพารามิเตอร์คุณภาพน้ำมากกว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของแหล่งน้ำ เมื่อประเมินคุณภาพแหล่งน้ำด้วยดัชนีคุณภาพน้ำ (WQI) พบว่า แหล่งน้ำเกือบทุกสถานีจัดเป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 3 ในขณะที่การประเมินคุณภาพแหล่งน้ำด้วยดัชนี AARL-PC Score จัดทุกสถานีอยู่ในคุณภาพน้ำระดับดี-ปานกลาง โดยพบว่า มีสารอาหารน้อยถึงปานกลาง (oligo - mesotrophic) จากการศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ พบเดสมิดส์ทั้งหมด 10 สกุล 70 ชนิด โดยแบ่งเป็น 4 วงศ์ ได้แก่ Mesotaeniaceae พบ 1 สกุล คือ Roya 1 ชนิด (1.40%), Gonatozygaceae พบ 1 สกุล ได้แก่ Gonatozygon 1 ชนิด (1.40%). Closteriaceae พบ 1 สกุล คือ Closterium 18 ชนิด (25.35%) และ Desmidiaceae พบ 7 สกุล 50 ชนิด ได้แก่ Actinotaenium 2 ชนิด (2.81%), Cosmarium 20 ชนิด (28.16%), Euastrum 1 ชนิด (1.40%), Micrasterias 1 ชนิด (1.40%), Spondylosium 1 ชนิด (1.40%), Staurastrum 21 ชนิด (29.57%) และ Staurodesmus 4 ชนิด (5.63%) โดยมีชนิดเด่น คือ Closterium acutum var. variabile จากการประเมินดัชนีความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ พบว่า Shannon’s diversity index มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ในพื้นที่ศึกษามากกว่า Simpson’s index เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ และความหลากหลายของสาหร่ายกลุ่มเดสมิดส์ด้วยวิธี CCA และ Pearson’s correlation coefficient สามารถจัดกลุ่มความสัมพันธ์ได้ทั้งสิ้น 3 กลุ่ม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหนองเล็งทรายและกว๊านพะเยามีคุณภาพน้ำ โดยรวมดีกว่าบริเวณคลองส่งน้ำ และส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายเดสมิดส์ให้มีความหลากหลายที่สูงเช่นกัน ข้อมูลที่ได้มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรักษาระบบนิเวศแหล่งน้ำให้มีความยั่งยืนต่อไป