Browsing by Author "มยุเรศ แสงสว่าง"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยของการออกแบบลวดลายที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่า(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) มยุเรศ แสงสว่างการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) รวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์ลวดลายแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์บนผ้าชนเผ่า และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการออกแบบลวดลายด้วยตนเองบนผ้าชนเผ่า กลุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาศึกษาใช้วิธีสุ่ม จากกลุ่มบุคคลผู้ใช้บริการระบบการออกแบบลวดลายด้วยตนเองลงบนผืนผ้าชนเผ่าอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ W.G. Cochran (1953) แบบไม่ทราบจำนวนประชากร ที่มีค่านัยสำคัญที่ 0.05 และค่าความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมิน หาค่าความสอดคล้องระหว่างคำถามและวัตถุประสงค์ ด้วยดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objectives Congruence : IOC) ได้ค่าความเที่ยงตรงใช้ได้ที่ 0.85 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ปัจจัย Linear Regression Analysis และ Multiple Linear Regression ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยของการออกแบบลวดลาย ที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่า มีการศึกษารวบรวมลวดลายผ้าแบบดั้งเดิม จำนวน 19 ลวดลาย และลวดลายประยุกต์ จำนวน 4 ลวดลาย ซึ่งเป็นลวดลายที่มีความหมายเป็นสิริมงคล และสื่อให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการตลาดให้เหมาะสมกับการนำลวดลายไปใช้บนผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่าแบบใหม่ นอกจากนี้ ในส่วนของปัจจัยของการออกแบบลวดลายที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่า ผ่านระบบ www.pyhill.com ด้านการสามารถออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่าด้วยตนเอง ส่งผลต่อความพึงพอใจการใช้งานระบบฯ ในระดับมากที่สุด รองลงมาผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบไม่ซ้ำกับผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมีความโดดเด่นและมีอัตลักษณ์ของชนเผ่า และความน่าเชื่อถือในระบบการจัดส่งผลิตภัณฑ์สินค้า PRE-ORDER ตามลำดับ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
- Itemสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) มยุเรศ แสงสว่างปัญหาที่สถาบันอุดมศึกษาต้องประสบ คือ ปัญหาจำนวนผู้เรียนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากประชากรวัยเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่จะเข้าสู่มหาวิทยาลัยลดลง สถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับตัว โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีในสังคม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนิสิตชั้นปีที่ 1 และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนิสิตในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน และส่วนที่ 2 ช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ผลการวิจัยพบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ที่นิสิตให้ความสนใจมากที่สุดในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา คือ ช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ที่เข้าศึกษาจากเฟซบุ๊ก (Facebook) เรียนต่อคณะ ICT ม.พะเยา (https://www.facebook.com/ictupadmission) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.11 มีระดับ ความคิดเห็นมากที่สุด และอันดับรองลงมา คือ ทางเว็บไซต์ (Website) ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (http://ict.up.ac.th) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.03 มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด และอันดับสุดท้ายทราบจากการแนะแนวหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 มีระดับความคิดเห็นมาก ตามลำดับ บทสรุปงานวิจัยนี้ จะทำให้ทราบถึงสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธของคณะ ฯ ให้ทันสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นในยุควิกฤตอุดมศึกษาไทยจากจำนวนประชากรวัยเรียนที่ลดลง