Browsing by Author "ภิญญาพัชญ์ มุณีแก้ว"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการจัดการประสบการณ์ความเป็นไทยในโรงแรม: กรณีพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประเทศไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ภิญญาพัชญ์ มุณีแก้วการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการประสบการณ์ลูกค้าและความเป็นไทยในธุรกิจโรงแรม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้า 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเป็นไทยกับความพึงพอใจ 4) เพื่อวิเคราะห์การรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้า และ 5) เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการประสบการณ์ลูกค้าด้วยความเป็นไทยในโรงแรม กรณีพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประเทศไทย ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือนตุลาคม 2564 - เดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักมีการจัดการประสบการณ์ลูกค้าและความเป็นไทยใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านการจัดการ 3) ด้านเทคโนโลยี 4) ด้านอาหารไทย การวิจัยเชิงปริมาณมีขนาดตัวอย่าง 416 ตัวอย่าง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้าของข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย ไค-สแควร์ = 344.35, p = 0.06, df = 294, ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ (chi-square / df) = 1.17, CFI = 1.00, GFI = 0.95, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.02 องค์ประกอบการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้าด้วยความเป็นไทย ของนักท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันตก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วยองค์ประกอบประสบการณ์ (-0.42) จุดติดต่อการบริการในโรงแรม (0.36) โครงสร้างประสบการณ์ (0.33) ความเป็นไทย (0.31) และส่วนประสมทางการตลาด (0.06) จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้นำมาจัดทำเป็นแนวทางการจัดการประสบการณ์ลูกค้าด้วยความเป็นไทยในโรงแรม กรณีพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประเทศไทยโดยการประชุมสนทนากลุ่ม กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน ได้แนวทาง 3 แนวทาง คือ 1) การพัฒนาบุคลากรด้วยความเป็นไทย (Thainess Man Power) 2) การนำเสนอความเป็นไทยผ่านจุดสัมผัสบริการ (Thainess Service Touchpoint) และ 3) การนำเสนอความเป็นไทยผ่านอาหาร (Thainess Gastronomy) 4) การนำเสนอความเป็นไทยผ่านการดูแลสุขภาพ (Thainess Wellness)