Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ภาณุเดช เทียนชัย"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    การควบคุมโรคเหี่ยวของเมล่อนโดยใช้ราเอนโดไฟท์และสารปรับปรุงดิน
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ภาณุเดช เทียนชัย
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของราเอนโดไฟท์ Trichoderma sp. (L1I3) ที่แยกได้จากพืชสมุนไพรต้นสาบเสือ (Chromolaena odorata L.) และ T. harzianum (R24I2) ที่แยกได้จากพืชตระกูลแตงร่วมกับสารปรับปรุงดินในการควบคุมโรคเหี่ยวของเมล่อน ในการทดลองที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพสารปรับปรุงดินต่อการเจริญของราเอนโดไฟท์บนอาหาร PDA พบว่า สารปรับปรุงดินทุกระดับความเข้มข้นไม่มีผลต่อการเจริญของราเอนโดไฟท์ทั้งสองชนิด การทดลองที่ 2 การทดสอบความสามารถในการเกิดโรค พบว่า ราเอนโดไฟท์ทั้ง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Trichoderma sp. (L1I3) และ T. harzianum (R24I2) ไม่ก่อให้เกิดโรคในเมล่อน ในขณะที่ทดสอบความสามารถในการเกิดโรคของรา Fusarium equiseti (UP-PA002) พบว่า มีการเกิดโรคในระยะเมล็ดอยู่ในดิน 54 เปอร์เซ็นต์ การทดลองที่ 3 การทดสอบผลของราเอนโดไฟท์ Trichoderma sp. (L1I3) และ T. harzianum (R24I2) ต่อยับยั้งรา F. equiseti (UP-PA002) โดยวิธี dual culture พบว่า มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง เท่ากับ 84.16 และ 80.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองที่ 4 การทดสอบผลของราเอนโดไฟท์ในการควบคุมโรคเหี่ยวในระดับโรงเรือน พบว่า กรรมวิธีที่ปลูกเชื้อ Trichoderma sp. (L1I3) มีจำนวนใบ จำนวนข้อ ความสูง และน้ำหนักผล มากที่สุด และมีคะแนนการเกิด โรคเฉลี่ยระดับ 1.00 การทดลองที่ 5 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อราต่อการยับยั้งการเจริญของรา F. equiseti (UP-PA002) ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า สาร etridiazole ร่วมกับ quintozene ที่ระดับความเข้มข้นตามคำแนะนำในฉลาก (normal dose) สามารถยังยั้งการเจริญของรา F. equiseti (UP-PA002) สาเหตุโรคเหี่ยวในเมล่อนได้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์ การทดลองสุดท้าย เป็นการทดสอบใช้ราเอนโดไฟท์ร่วมกับสารปรับปรุงดินควบคุมโรคเหี่ยวของเมล่อนในระดับแปลงทดลอง พบว่า การใช้สารปรับปรุงดิน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ ร่วมกับราเอนโดไฟท์ (Trichoderma sp. L1I3) มีจำนวนใบ จำนวนข้อ และความสูงมากที่สุดและไม่มีการเกิดโรค

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback