Repository logo
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
Repository logo

UPDC

  • Communities & Collections
  • All of DSpace
  • English
  • Català
  • Čeština
  • Deutsch
  • Español
  • Français
  • Gàidhlig
  • Latviešu
  • Magyar
  • Nederlands
  • Polski
  • Português
  • Português do Brasil
  • Suomi
  • Svenska
  • Türkçe
  • Қазақ
  • বাংলা
  • हिंदी
  • Ελληνικά
  • Yкраї́нська
  • Log In
    New user? Click here to register.Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Author

Browsing by Author "ภาณุพงศ์ ชัยวงศ์แสน"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Item
    ความหลากชนิดของหิ่งห้อยในพื้นที่เกษตรบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
    (มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ภาณุพงศ์ ชัยวงศ์แสน
    หิ่งห้อยเป็นแมลงปีกแข็งที่สามารถเปล่งแสงได้ในความมืด และใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อม การศึกษาความหลากชนิดของหิ่งห้อยในพื้นที่เกษตรกรบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ดำเนินการ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากชนิดของหิ่งห้อย ศึกษาปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพที่มีผลต่อความหลากชนิดในพื้นที่เกษตรบ้านบัว ดำเนินการเก็บตัวอย่างหิ่งห้อยตัวเต็มวัย 100 ตัว สุ่มเก็บตัวอย่างตามแนว line transect ระยะทาง 100 เมตร ในพื้นที่ 5 สถานีที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จากการศึกษาหิ่งห้อย 76 ตัวใน 100 ตัวที่สามารถจำแนกได้ พบว่า หิ่งห้อยทั้งหมดอยู่ในวงศ์ย่อย Luciolinae ประกอบด้วย 8 สกุล ได้แก่ Abscondita (1 ตัว), Aquatica (2 ตัว), Asymmetricata (7 ตัว), Luciola (12 ตัว), Medeopteryx (18 ตัว), Pygoluciota (5 ตัว), Sclerotia (24 ตัว) และ Triangulara (7 ตัว) หิ่งห้อย 3 ชนิดแรกที่พบมากที่สุด คือ Sclerotia seriata (21 ตัว : 27.63%), Medeopteryx sp. (18 ตัว : 23.62%) และ Luciola curtithorax (12 ตัว : 15.79%) 3 สถานีแรกที่พบมากที่สุด ได้แก่ สถานีชายคลองใกล้อ่างเก็บน้ำ (41 ตัว : 53.95%), สถานนีทุ่งนาใกล้เนินเขา (16 ตัว : 21.05%) และสถานีทุ่งนาติดฝายชลประทาน (10 ตัว : 13.16%) ผลการประเมินจากค่าดัชนีความหลากชนิดของหิ่งห้อย ปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางชีวภาพ พบว่า บริเวณป่าชายคลองใกล้อ่างเก็บน้ำเหมาะสมต่อความหลากชนิด และความชุกชุมของหิ่งห้อย โดยมีค่าดัชนีความหลากชนิด (species diversity index) ดัชนีความหลากหลายของชนิด (Richness index) ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness index) และค่าความชุกชุมของชนิด (species abundance) เท่ากับ 1.525, 1.500, 0.450, และ 91.667 ตามลำดับ จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำกับชนิด และปริมาณของหิ่งห้อยตัวเต็มวัย โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ค่า pH มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมากกับหิ่งห้อยตัวเต็มวัยชนิด Luciola curtithorax และ Medeopteryx sp. (r = 0.922** ,p < 0.01) และ (r = 0.922** ,p < 0.01) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่า ความหลากชนิดและความชุกชุมของหิ่งห้อยพบมาก ในบริเวณสภาพธรรมชาติที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมค่อนข้างดี หิ่งห้อย 3 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ Sclerotia seriata, Medeopteryx sp. และ Luciola curtithorax สามารถใช้เป็นดัชนีวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เกษตรบ้านบัว จังหวัดพะเยาได้

DSpace software copyright © 2002-2025 LYRASIS

  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • End User Agreement
  • Send Feedback