Browsing by Author "ภัสรา ทิพเนตร"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาของไหลจุลภาคแบบดิจิทัลที่ใช้ศักย์ไฟฟ้ากระตุ้นต่ำ: ผลของระยะห่างระหว่างขั้วอิเล็กโทรดและความหนาของชั้นไดอิเล็กทริกต่อศักย์ไฟฟ้ากระตุ้น(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ภัสรา ทิพเนตร; สุจิรา จิตคำมางานวิจัยนี้ได้ศึกษาและพัฒนาระบบดิจิทัลไมโครฟลูอิดิกส์ โดยศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสของหยดน้ำปราศจากไอออนปริมาตร 8 ไมโครลิตร ดังนี้ วิธีการทำขั้วอิเล็กโทรด ระยะห่างระหว่างขั้วอิเล็กโทรด ความหนาของชั้นไดเล็กทริก และชนิดของชั้นไดอิเล็กทริก ขั้วอิเล็กโทรดขนาด 3x3 มิลลิเมตร ทำจากการกัดลายวงจรพีซีบี ฟิล์มทองแดงและไทเทเนียมที่ประดิษฐ์ด้วยวิธีสปัตเตอริง ขั้วอิเล็กโทรดถูกเคลือบด้วยชั้นไดอิเล็กทริก ได้แก่ 1) พอลิเมอร์พีดีเอ็มเอส 2) ไทเทเนียมไดออกไซด์:พอลิเมอร์โพลีไดเมทิลไซลอกเซน นาโนคอมโพสิท อัตราส่วน 1%wt/ TiO2/PDMS กับ 3% wt/ TiO2/PDMS จากผลการทดลองพบว่า ขั้วอิเล็กโทรดไทเทเนียมทำให้มุมสัมผัสของหยดน้ำเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ชั้นไดอิเล็กทริกไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2)/พอลิเมอร์โพลีไดเมทิลไซลอกเซนนาโนคอมโพสิท อัตราส่วน 1%wt/ TiO2/PDMS ทำให้มุมสัมผัสของหยดน้ำเปลี่ยนแปลงมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า ระยะห่างของขั้วอิเล็กโทรด 230±10 ไมโครเมตร และความหนาของชั้นไดอิเล็กทริกที่เคลือบด้วยไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2)/พอลิเมอร์โพลีไดเมทิลไซลอกเซนนาโนคอมโพสิท ขั้วอิเล็กโทรดฟิล์มทองแดง อัตราส่วน 3%wt/ TiO2/PDMS โดยสปินที่ความเร็วรอบ 2000 สามารถเปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสมากที่สุด 48 องศา เมื่อใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้ากระตุ้น 250 โวลต์