Browsing by Author "ภัสราภรณ์ ธีระวงศานุรักษ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการใช้เทคนิค KWL-PLUS เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ภัสราภรณ์ ธีระวงศานุรักษ์การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิค KWL-PLUS ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL-PLUS และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค KWL-PLUS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่สาย ประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/2 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 39 คน ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ31102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL-PLUS แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อวัดความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL-PLUS และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิค KWL-PLUS เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test dependent ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ทุกหน่วยการเรียนรู้นักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียน นอกจากนี้ยังพบว่า การวัดผลทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนนักเรียนจะเขียนแสดงความคิดเพียงสั้น ๆ โดยใช้คำศัพท์ง่าย ๆ เท่านั้น แต่เมื่อทดสอบหลังจากการเรียนโดยใช้เทคนิค KWL-PLUS แล้วพบว่า นักเรียนได้พัฒนาความสามารถทางการเขียนแสดงความคิดมากยิ่งขึ้น นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการในการเขียนเนื้อหาได้ละเอียดมากกว่าเดิม มีการเรียบเรียงความคิด และเกิดการคิดที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิค KWL-PLUS พบว่า นักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค KWL-PLUS ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด