Browsing by Author "ภัทรียา นภาลัย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลกระทบการระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อความรู้ ความเครียด สุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ภัทรียา นภาลัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อ ความรู้ ความเครียด สุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดเชียงราย การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED MODEL กำหนดปัจจัย 3 กลุ่มปัจจัย คือ ปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ความเพียงพอของรายได้ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรู้ ความเครียด สุขภาพจิต ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ สถานะสุขภาพ การเข้าถึงบริการสาธารณสุข คุณภาพชีวิต และปัจจัยเสริม ได้แก่ ผู้ดูแล การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และกลุ่มตัวอย่าง 450 คน เป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง และได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ แบบวัดความเครียด (SPST-20) แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต (GHQ-28) แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ (WHOQOL–BREF–THAI) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติอ้างอิงแบบ Univariable analysis การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Pearson correlation coefficient) ผลการศึกษาปัจจัยนำ พบว่า ความรู้ที่เกี่ยวกับโควิด-19 ความเครียด สุขภาพจิต มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) การดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (p-value < 0.05) ปัจจัยเอื้อพบว่า จำนวนโรคเรื้อรังร่วม และการตรวจโควิด-19 มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง (p-value < 0.05) ตัวแปรโรคแทรกซ้อน พบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง (p-value < 0.05) และปัจจัยเสริม พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง (p-value < 0.05) พฤติกรรมการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) การอภิปรายผลชี้ให้เห็นความสำคัญของความรู้ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพจากโรควิด-19 ต่อผู้สูงอายุและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อในช่วงการระบาดของโรควิด-19 นอกจากนี้ยังมีอัตราความเครียด และปัญหาสุขภาพจิตสูงในผู้สูงอายุในช่วงการระบาด การจัดกิจกรรมมุ่งเน้นโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ