Browsing by Author "ภัทรนัย ไชยพรม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ภัทรนัย ไชยพรมการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของผู้ป่วยมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ที่ได้รับการวินิจฉัยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550–2558 จำนวน 966 ราย รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนมะเร็งระดับประชากร ( Population-Based cancer Registry) ของโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โดยใช้สถิติทางภูมิศาสตร์ Moran’s I และ Local-Moran’s I มาวิเคราะห์ร่วมกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงผลในรูปแบบแผนที่การกระจายตัวของผู้ป่วยมะเร็งปอด และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งในอำเภอเมืองลำปาง เป็นการวิจัยแบบเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Case-Control Study) ประกอบด้วยกลุ่มศึกษา (Cases) คือ ผู้ป่วยมะเร็งปอด จำนวน 85 ราย และกลุ่มควบคุม (Controls) คือ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นมะเร็งปอด จำนวน 170 ราย ทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน คือ เพศ อายุ (+5 ปี) และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550–2558 มีผู้ป่วยมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง รวมทั้งสิ้น 966 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 59 และเพศหญิง ร้อยละ 41 อายุเฉลี่ย 62 ปี โดยเฉลี่ยในรอบ 9 ปีที่ผ่านมาตำบลเวียงเหนือมีอัตราป่วยโรคมะเร็งปอดเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ พบว่า หมู่บ้านที่มีอัตราป่วยโรคมะเร็งปอดสูงจะปรากฏทางด้านทิศใต้ของอำเภอเมืองลำปาง เมื่อจำแนกระดับอัตราป่วย พบว่า หมู่บ้านมีอัตราป่วยสูงมาก 51 หมู่บ้าน อัตราป่วยสูง 49 หมู่บ้าน อัตราป่วยปานกลาง 51 หมู่บ้าน อัตราป่วยต่ำ 47 หมู่บ้าน และอัตราป่วยต่ำมาก 52 หมู่บ้าน และเมื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง (hotspot) โรคมะเร็งปอดพบว่า ในพื้นที่ 12 หมู่บ้านของเขตพื้นที่ 6 ตำบลเป็นพื้นที่เสี่ยงโรคมะเร็งปอด ได้แก่ ตำบลบ้านค่า (บ้านค่ากลาง และบ้านต้นฮ่างพัฒนา) ตำบลทุ่งฝาย (บ้านท่าโทกมงคลชัย) ตำบลบ้านเอื้อม (บ้านสบเฟือง บ้านสัก บ้านฮ่อง บ้านผึ้ง และบ้านปง) ตำบลนิคมพัฒนา (บ้านคลองน้ำลัด) ตำบลต้นธงชัย (บ้านต้นธงชัย และบ้านนาป้อใต้) และตำบลพิชัย (บ้านม่อนเขาแก้ว) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปอดในอำเภอเมืองลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประวัติโรคหอบหืด (ORadj = 5.02, 95% CI = 1.45-17.89) การสูบบุหรี่ (ORadj = 4.30, 95% CI = 2.19-8.43) และการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร (สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) (ORadj = 3.05, 95% CI = 1.42-6.54) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะต้องดำเนินการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในระดับเชิงพื้นที่ และให้ความรู้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงการป้องกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด