Browsing by Author "พิมพกานต์ ลาบุตรดี"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจกของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) พิมพกานต์ ลาบุตรดีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก 2) เปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนจุน 2 สังกัด สพป.พะเยา เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็ม ศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที (dependent sample t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาการพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก พบว่า นักเรียนมีการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับ 3 โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 58.97 เมื่อพิจารณารายสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุด และนักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนอยู่ในระดับมาก โดยด้านความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาร่วมกับประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปรากฏการณ์เรือนกระจก พบว่า นักเรียนมีการรรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05