Browsing by Author "พิทักษ์พงษ์ หอมนาน"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตและแมกนีเซียมซัลเฟต ต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ดวงกมล ปิ่นทอง; พิทักษ์พงษ์ หอมนาน; มัญชุพร คำใสการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนต และแมกนีเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย Spirulina platensis ในสูตรอาหารเพาะเลี้ยง 5 สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ได้แก่ C, C1, M, M1 และ Z ปริมาตร 250 มิลลลิตร ทำการเก็บผลโดยการนับจำนวนเส้นสาย วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 560 นาโนเมตร ทุก ๆ 3 วันเป็นระยะเวลา 30 วัน และชั่งน้ำหนักแห้งชีวมวลในวันที่ 30 ของการทดลอง พบว่า ความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนตที่เหมาะสมที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสูตรอาหารเพาะเลี้ยง C และ C1 (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง CB และ C1B) ได้แก่ 0, 3 และ 6 กรัมต่อลิตร สูตรอาหารเพาะเลี้ยง M และ M1 (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB และ M1B) คือ 6 กรัมต่อลิตร และสูตรอาหารเพาะเลี้ยง Z (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB) คือ 0 กรัมต่อลิตร (p≤0.05) จากนั้นนำ MB, M1B และ ZB มาเปรียบเทียบความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟต พบว่า ความเข้มข้นของแมกนีเซียมซัลเฟตที่เหมาะสมที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB และ M1B (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง MB+ และ M1B+) คือ 0.5 กรัมต่อลิตร และสูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB (สูตรอาหารเพาะเลี้ยง ZB+) คือ 0.2 กรัมต่อลิตร (p≤0.05) นอกจากนั้นยังไม่พบการปนเปื้อนของสาหร่ายชนิดอื่นในทุกสูตรอาหารเพาะเลี้ยง
- Itemผลของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสต่อลักษณะทางสัณฐานการเจริญเติบโต โปรตีนและพฤกษเคมีของสาหร่าย Spirulina platensis(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) พิทักษ์พงษ์ หอมนานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสต่อลักษณะทางสัณฐาน การเจริญเติบโต ปริมาณโปรตีนรวม และพฤกษเคมีของสาหร่าย Spirulina platensis ในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงดัดแปลง 6 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธี ORG1, กรรมวิธี ORG2, กรรมวิธี ORG3, กรรมวิธี ORG4, กรรมวิธี ORG5, กรรมวิธี ORG6 เปรียบเทียบกับสูตรอาหารเพาะเลี้ยงมาตรฐานปรับปรุง (MZ และ MJU) ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร ภายใต้สภาวะค่า pH 10 ที่อุณหภูมิห้อง ทำการเก็บผลโดยการนับจำนวนเส้นสาย วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 560 นาโนเมตร วัดปริมาณน้ำหนักแห้งชีวมวลและศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ทุก ๆ 3 วัน เป็นระยะเวลา 30 วัน พบว่า สูตรอาหารเพาะเลี้ยงดัดแปลง กรรมวิธี ORG3 และกรรมวิธี ORG5 มีศักยภาพเพียงพอในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของสาหร่าย S. platensis โดยไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานของเส้นสายในระยะเวลาการเพาะเลี้ยง 12 วัน และกรรมวิธี ORG5 มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่าย S. platensis เพื่อผลิตสารพฤกษเคมี เนื่องจากสามารถผลิตแคโรทีนอยด์รวม และคลอโรฟิลล์เอ ได้เทียบเท่ากับสูตรอาหารมาตรฐาน แต่อาจต้องใช้ชีวมวล 2 เท่า และ 3 เท่า สำหรับการผลิตสารไฟโคบิลิโปรตีน และปริมาณโปรตีนรวม ตามลำดับ ทั้งนี้ ถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเนื่องจากสูตรอาหารดัดแปลงมีต้นทุนที่ต่ำกว่าสูตรอาหารมาตรฐานอยู่มาก และยังสามารถลดการใช้สารเคมี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้