Browsing by Author "พัฒนกิจ วงค์ลาศ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้เพื่อยกระดับวิชาชีพและคุณภาพชีวิต(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) พัฒนกิจ วงค์ลาศการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ 2) ศึกษากลุ่มครูอาชีวศึกษาที่ควรได้รับการพัฒนาก่อนและปัจจัยส่งเสริม 3) สร้างและตรวจสอบรูปแบบเชิงสาเหตุพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหา และใช้องค์ความรู้เพื่อยกระดับวิชาชีพและคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 324 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้วัดในการวิจัย คือ 1) แบบวัด 11 แบบวัด เป็นแบบวัด มาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.691 ถึง 0.926 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิง โดยสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวแปรปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมอธิบายพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ของครูอาชีวศึกษาได้ร้อยละ 52.0 และ 59.7 ตามลำดับ ซึ่งอธิบายได้มากกว่าร้อยละ 25 กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายพฤติกรรมการแสวงหาองค์ความรู้ได้เพิ่มขึ้นจากการอธิบายด้วยกลุ่มตัวแปรปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมเพียงอย่างเดียว มากกว่าร้อยละ 5 2) รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุพฤติกรรมการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ของครูอาชีวศึกษา สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยอธิบายได้ร้อยละ 98.1 3) กลุ่มครูอาชีวศึกษาที่สมควรได้รับการพัฒนาก่อนมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูอาชีวศึกษาที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มครูอาชีวศึกษาที่มีตำแหน่งข้าราชการครู ปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญสำหรับครูอาชีวศึกษาสองกลุ่มดังกล่าว คือ ทัศนคติที่ดีต่อการแสวงหาและใช้องค์ความรู้ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ 4) รูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้เพื่อยกระดับวิชาชีพและคุณภาพชีวิต ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนแรกเป็นรูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาดำเนินการโดยผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวม ร้อยละ 87.50 ถึง 91.43 และ 89.55 ส่วนที่สองเป็นรูปแบบการพัฒนาเพื่อส่งเสริมจิตลักษณะสำคัญของครูอาชีวศึกษา โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวม 87.00 ถึง 88.29 และ 87.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 70 และ 75 ตามลำดับ ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ารูปแบบการบริหารการพัฒนาครูอาชีวศึกษาในการแสวงหาและใช้องค์ความรู้นี้ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอแนะ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์และการวิจัยที่ควรจะต้องทำต่อไป