Browsing by Author "พัชรินทร์ พรหมเผ่า"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemการพัฒนาหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะสำหรับนิสิตกายภาพบำบัด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) พัชรินทร์ พรหมเผ่า; พลากร อุดมกิจปกรณ์ทักษะการดูดเสมหะ เป็นหนึ่งในทักษะที่นักกายภาพบำบัดควรปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง การใช้หุ่นจำลองช่วยในการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันหุ่นจำลองส่วนใหญ่ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง จึงมีใช้อย่างจำกัดในสถานศึกษา นักวิจัยจึงได้คิดประดิษฐ์หุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะที่ต้นทุนต่ำขึ้น สำหรับใช้ในการเรียนการสอนของนิสิตกายภาพบำบัด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ศึกษาในนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 3 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพหุ่นจำลองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.69 ± 0.47 คะแนน) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด (4.58 ± 0.50 คะแนน) สรุปได้ว่า หุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะการดูดเสมหะสำหรับนิสิตกายภาพบำบัดก่อนฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงได้
- Itemการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายระหว่างสตรีวัยหลังหมดระดูที่กลัวและไม่กลัวการล้ม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) พัชรินทร์ พรหมเผ่าการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย (การทดสอบ Handgrip Strength Test การทดสอบ Five-Times-Sit-to-Test-Stand Test (FTSST) และการทดสอบ Timed up and go test (TUGT)) ของสตรีวัยหลังหมดระดูที่กลัวและไม่กลัวการล้ม อาสาสมัครเป็นเพศหญิง จำนวน 104 ราย อายุ 40-59 ปี ซึ่งอาสาสมัครได้รับการประเมินการกลัวการล้มด้วยแบบประเมิน Falls Efficacy Scale-International (Thai FES-I) ทดสอบสมรรถภาพทางกาย 3 การทดสอบ ได้แก่ การทดสอบแรงบีบมือ (Handgrip Strength Test) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ การทดสอบการเดินและกลับตัว 3 เมตร (Timed Up and Go test) เพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัว และการทดสอบลุกนั่งห้าครั้ง (Five Times Sit to Stand Test) เพื่อประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ผลการศึกษาพบว่า สตรีวัยหลังหมดระดูที่กลัวการล้มมีสมรรถภาพทางกายน้อยกว่าสตรีวัยหลังหมดระดูที่ไม่กลัวการล้ม โดยพบความแตกต่างของแรงในการบีบมือ ระยะเวลาเดินและกลับตัว 3 เมตร และระยะเวลาลุกนั่งห้าครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุปได้ว่า สตรีวัยหลังหมดระดูที่ไม่กลัวการล้มมีสมรรถภาพทางกายดีกว่าสตรี วัยหลังหมดระดูที่กลัวการล้ม ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ควรตระหนักถึงการกลัวการล้ม และส่งเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อลดการกลัวการล้ม และความเสี่ยงในการล้มของสตรีวัยหลังหมดระดูต่อไป