Browsing by Author "พฤกษา พันธ์ปัญญา"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของธุรกิจจักสานไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) พฤกษา พันธ์ปัญญาการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด 7P ของกลุ่มจักสานในจังหวัดพะเยาด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจจักสาน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้องานจักสาน และปัจจัยความต้องการของลูกค้าที่ส่งผลต่อสร้างกลยุทธ์การตลาด รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงคุณ ภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบธุรกิจจักสานในจังหวัดพะเยา 10 กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจากไม่มีการคำนวณต้นทุนราคา ผลิตสินค้าได้ล่าช้า และกลุ่มจักสานส่วนใหญ่ไม่มีช่องทางตลาดออนไลน์ เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด 7P ผลการวิเคราะห์ SWOT พบว่า 1) จุดแข็ง ของแต่ละกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน 2) จุดอ่อน ไม่มีการประเมินต้นทุนของสินค้า 3) โอกาส มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ 4) อุปสรรค การเกิดโรคระบาด Covid-19 ทำให้ยอดการซื้อและกำลังการผลิตล่าช้าลง โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด 4 ด้าน กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน กลยุทธ์เชิงรับในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถนำจุดแข็งของกลุ่มหนึ่งไปช่วยลดจุดอ่อนของกลุ่มอื่นได้ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มลูกค้าจักสานทางออนไลน์ในกลุ่มเฟซบุ๊ก โดยการตอบแบบสอบถามผ่าน Google Form จำนวน 400 ราย ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7P เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แบ่งกลุ่มผู้บริโภค ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามทัศนคติและความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ มากที่สุด คือ กลุ่มที่ 3 คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย รองลงมา กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่เป็นเรื่อง “ฟุ่มเฟือย” น้อยที่สุด คือ กลุ่มที่ 1 วางแผนซื้อผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่อยู่เสมอ ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7P ที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านสาธารณูปโภค ด้านบุคลากร ด้านการผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด สามารถนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาแก้ปัญหา คือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่างที่นำสนอสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์สร้างความภักดีในตราสินค้า