Browsing by Author "พรชิตา จะชาญ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) พรชิตา จะชาญแบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Potassium solubilizing bacteria: KSB) เป็นแบคทีเรียที่พบบริเวณรากพืช มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนโพแทสเซียมรูปที่ไม่ละลายเป็นรูปที่พืชนำไปใช้ได้ (K+) ช่วยส่งเสริมให้พืชดูดซึมโพแทสเซียมได้ดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช (rhizophere) จากพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว ผักบุ้ง งาขี้ม้อน ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสาบเสือ โดยวิธี spread plate บนอาหารแข็ง Modified Aleksandrove medium ที่เติมแร่เฟลด์สปาร์เป็นส่วนประกอบ บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน สามารถคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมซึ่งสามารถสร้างบริเวณใสรอบโคโลนีได้ทั้งหมด 28 ไอโซเลท นำแบคทีเรียทั้ง 28 ไอโซเลทและแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 16 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพการละลายโพแทสเซียมบนอาหารแข็ง ด้วยวิธี spot plate จากนั้นคัดเลือกแบคทีเรีย จำนวน 8 ไอโซเลท ที่ให้ค่าสัดส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณใสต่อเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีสูง (3.50-7.0 เท่า) มาประเมินประสิทธิภาพการละลายโพแทสเซียมในอาหารเหลวด้วยเทคนิค flame atomic absorption spectrophotometry (FAAS) พบว่า ไอโซเลท KC7 ให้ค่าการละลายโพแทสเซียมสูงที่สุดที่ 2.63 มิลลิกรัมต่อลิตร รองลงมา คือ ไอโซเลท KC1 ให้ค่าการละลายโพแทสเซียมที่ 2.43 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ได้จำแนกชนิดของแบคทีเรียโดยใช้ลำดับเบสของยีน 16s rDNA พบว่า KC7 และ KC1 คือ แบคทีเรีย Burkholderia gladioli และ Burkholderia cepacia ตามลำดับ