Browsing by Author "พงษ์พันธ์ ปัญญางาม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) พงษ์พันธ์ ปัญญางามการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ และด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน และ 4) เพื่อศึกษาตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ เกิดขึ้นจากปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนของครูที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่า Content Validity ได้ค่าระหว่าง 0.67-1 และค่าความเชื่อมั่น Reliability ทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในภาพรวมทั้งปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะปัจจัยจูงใจ พบว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และลักษณะงานที่ปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนปัจจัยค้ำจุนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เงินเดือนและสวัสดิการ 2) พฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความซื่อสัตย์สุจริตมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มีจิตสาธารณะ และมุ่งมั่นในการทำงาน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานของครูกับพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน ด้านปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.054) และด้านปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ที่ ระดับปานกลาง (r = 0.317) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 4) ตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นคนดีของนักเรียน ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน เงินเดือนและสวัสดิกร การยอมรับนับถือ และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ที่ 43% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01