Browsing by Author "ผกาเพ็ญ จรูญแสง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemกฤษณา อโศกสิน-ทมยันตี: อัตลักษณ์การประพันธ์นวนิยายร่วมสมัยเชิงประชัน เรื่อง เมียหลวง-เมียน้อย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ผกาเพ็ญ จรูญแสงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลตัวบทนวนิยาย “เมียหลวง” ของกฤษณา อโศกสิน และนวนิยาย “เมียน้อย” ของทมยันตี ในด้านกลวิธีการประกอบสร้างตัวบท และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทสังคม โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรู้ในตัวบท และแนวคิดความรู้นอกตัวบท คือ แนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมประเภทนวนิยาย และแนวคิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทนวนิยายกับบริบทสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ 2 ประการ ดังนี้ 1) กลวิธีการประกอบสร้างตัวบทนวนิยายเรื่องเมียหลวง-เมียน้อย ด้านแก่นเรื่อง สะท้อนปัญหาสังคมครอบครัวเนื่องจากกิเลสตัณหาของสามีที่มีเมียน้อยในที่สุดคุณธรรมความดีช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โครงเรื่องของนวนิยายคล้ายกันในภาพรวม ต่างกันในรายละเอียด โดยเรื่องเมียหลวง สามีมีเมียน้อย แต่ภรรยาซึ่งเป็นเมียหลวงใช้ปัญญาและคุณธรรมความดีแก้ปัญหา เมื่อปมปัญหาคลี่คลาย สามีเลิกเจ้าชู้ ไม่มีเมียน้อยอีก ในขณะเรื่องเมียน้อย ผูกปมให้ตัวละครเอกเป็นเมียน้อยด้วยความจำเป็นในชีวิตและครอบครัว แต่เป็นเมียน้อยมีปัญญาและยึดมั่นในความดี เมื่อปมปัญหาคลี่คลายจึงพ้นจากความเป็นเมียน้อย พบรักกับผู้ชายคนใหม่ แล้วก้าวสู่ความเป็นเมียหลวง ตัวละครเอกในนวนิยายทั้งสองเรื่อง แม้จะต่างกันด้วยบริบทชีวิตและสังคม แต่ตัวละครต่างใช้ปัญญาและคุณธรรมแก้ปัญหาชีวิต เรื่องเมียหลวงกับเรื่องเมียน้อยใช้บทสนทนาดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวา รู้จักตัวละคร และมีวิธีการไม่ซ้ำซาก เป็นธรรมชาติและสมจริง ในด้านฉากช่วยให้ชวนติดตาม ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใด เมื่อใด ช่วยสื่อความคิดของผู้ประพันธ์ ด้านการใช้ภาษาในภาพรวม ผู้ประพันธ์ใช้คำและสำนวนภาษา ประโยค โวหาร ภาพพจน์ และลีลาภาษาเรียบง่าย สื่อความหมายกระจ่างชัด มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทสังคม ในด้านวิถีของความเป็นเมียหลวงและเมียน้อย ในด้านบทบาทต่อตนเองมี 4 ด้าน คือ ด้านชาติกำเนิด ด้านการได้รับการอบรมจากครอบครัว และด้านการศึกษา บทบาทดังกล่าวแม้มีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน ด้านบทบาทต่อผู้อื่น ตัวละครเมียหลวงมีบทบาทต่อครอบครัวของตนในฐานะแม่และเมีย ส่วนตัวละครเมียน้อยมีบทบาทต่อครอบครัวที่ตนเองเป็นลูกซึ่งมีพ่อกับแม่และเป็นพี่ซึ่งมีน้องชาย การเป็นเมียหลวงและเมียน้อยในนวนิยายทั้งสองเรื่อง ส่งผลลัพธ์สามมิติ คือ ผลลัพธ์ต่อคู่ครอง ผลลัพธ์ต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล และผลลัพธ์ต่อสังคม ด้านการดำรงอยู่ของเมียหลวงและเมียน้อยนั้น สำหรับเมียหลวงนั้น ช่วงแรกเป็นเมียหลวงที่สมบูรณ์ ต่อมาอยู่ในสถานะหย่าร้างแต่ยังเป็นเมียหลวงโดยพฤตินัย แล้วกลับคืนสู่สถานะเมียหลวงที่สมบูรณ์อีกครั้ง ส่วนการเป็นเมียน้อย ช่วงแรกเป็นเมียน้อยที่งดงามในความเป็นเมีย แล้วในที่สุดเปลี่ยนสภาพเป็นเมียหลวง