Browsing by Author "ปานณนาถ ศักดิ์ศิริคุณ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ปานณนาถ ศักดิ์ศิริคุณจากการศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออก มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และศึกษาความต้องการ และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา การตรวจสอบรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ดำเนินการสัมภาษณ์ และแจกแบบสอบถามความสำคัญที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาวการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ประกอบด้วย ด้านปัจจัยการผลิต ด้านอุปสงค์ ด้านบริบท ด้านการแข่งขัน และกลยุทธ์ของธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนกัน ด้านบทบาทของภาครัฐและโอกาส ทั้งนี้จากผลการประเมินด้านปัจจัยที่มีต่อการบริหารจัดการ พบด้านค่านิยมมีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย = 3.76) มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านทักษะของผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.75) รองลงมา คือ การจัดการด้านผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.70) การจัดการด้านรูปแบบ (ค่าเฉลี่ย = 3.68) การจัดการด้านระบบ (ค่าเฉลี่ย = 3.67) การจัดการด้านโครงสร้าง (ค่าเฉลี่ย = 3.56) และการจัดการด้านกลยุทธ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.51) โดยพบความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในพื้นที่ล้านนาตะวันออกโดย ได้ดำเนินการศึกษาโดยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เป็นการสุ่มแบบบังเอิญ ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความคาดหวังต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในพื้นที่ล้านนาตะวันออกในระดับมากที่สุดในทุกด้าน โดยด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา จะเป็นด้านที่มีความคาดหวังสูงกว่าด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านทักษะผู้ให้บริการการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 3.43) และด้านผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.40) รองลงมา คือ ด้านค่านิยมต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.39) ด้านกลยุทธ์ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.30) ด้านระบบในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.26) ด้านรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.24) และด้านโครงสร้างในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย =3.21) จากข้อมูลข้างต้นทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในพื้นที่ล้านนาตะวันออก โดยมีการตรวจสอบความเหมาะสมเพื่อประกอบการตัดสินใจ จนสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการที่เหมาะสม ประกอบด้วย การจัดการด้านทักษะของทรัพยากรมนุษย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงกีฬา การจัดการด้านกลยุทธ์เพื่อประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงกีฬา การจัดการด้านรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และการจัดการด้านโครงสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมทางท่องเที่ยวเชิงกีฬาในพื้นที่ล้านนาตะวันออก