Browsing by Author "ปวีณา โตไทย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ปวีณา โตไทยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานเทศบาลตำบลแม่กา จำนวนทั้งสิ้น 131 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวน 99 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้สถิติ t-test และ f-test หรือ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า เทศบาลแม่กามีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ตามแนวคิดของ Walton, R.E. (1973) ได้แก่ 1) ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน 3) ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน 4) ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน 5) ด้านคุณค่าทางสังคมและการทำงานร่วมกัน 6) ด้านความยุติธรรมในหน่วยงาน 7) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน 8) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.51) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จะมีระดับความคิดเห็นต่อนโยบายโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน ด้านความยุติธรรมในหน่วยงาน และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมีระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินนโยบายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางที่ควรต้องปรับปรุง 4 ด้าน คือ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม ด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในงาน ด้านคุณค่าทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่าพนักงานเทศบาลตำบลแม่กา ที่มีเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และมีรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นที่ มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบล โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05