Browsing by Author "ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญกลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ 3) ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ 4) สำรวจองค์ประกอบการท่องเที่ยวที่ใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ 5) วิเคราะห์การตลาดดิจิทัลที่ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ และ 6) นำเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple Comparison) ของ Scheffé และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และนักวิชาการ จำนวน 33 คน โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา 7 ด้าน ยกเว้นด้านเพศ 2) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาทุกด้านไม่ต่างกัน ยกเว้นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยว 3) ศักยภาพการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญ โดยรวมมีครบทุกด้าน มีความความโดดเด่นด้านศักยภาพด้านดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว และศักยภาพด้านกายภาพและกิจกรรม 4) องค์ประกอบการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญโดยรวมมีครบทุกด้าน มีความโดดเด่นด้านแหล่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวและด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) การตลาดดิจิทัลที่ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยรวมมีครบทุกด้าน มีความโดดเด่นด้านการพัฒนาข่าวสารร่วมกัน และด้านพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ 6) แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยววัฒนธรรมรามัญกลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยรูปแบบ CC-RAMAN Model ประกอบด้วย การสื่อสาร (Communication) การพัฒนาข่าวสารร่วมกัน (Co-Creation) ทรัพยากร (Resources) กิจกรรม (Activities) การบริหารจัดการ (Management) ความเป็นของจริง (Authenticity) และการสร้างเครือข่าย (Networking) โดยมี 20 กลยุทธ์ 60 โครงการ