Browsing by Author "ประทินทิพย์ สลีสองสม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอแม่ลาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ประทินทิพย์ สลีสองสมการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอแม่ลาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอแม่ลาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่งงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในอำเภอแม่ลาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 103 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน แบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามตำแหน่งงาน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที (T-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance: ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีของครอนบาร์ค (Cronbach) เท่ากับ 0.98 จากผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอแม่ลาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม ทักษะด้านนวัตกรรม ทักษะด้านเทคโนโลยี ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ 2) จากผลการเปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอแม่ลาว สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ประกอบด้วย ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านนวัตกรรม ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม และทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยจำแนกตามเพศ และตำแหน่งงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า ทั้งภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน