Browsing by Author "บุษรินทร์ ท้วมแก้ว"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประยุกต์ใช้น้ำโอโซนและน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อรา Aspergillus Flavus Link. และ Penicillium Citrinum Thom. ในดอกงิ้วแห้ง (Bombax Ceiba L.)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) บุษรินทร์ ท้วมแก้วงานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำโอโซนร่วมกับการรมด้วยน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus และ Penicillium citrinum ในดอกงิ้วแห้งโดยแบ่งการทดลองเป็น 6 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกงิ้วแห้งโดยการสัมภาษณ์ผู้เก็บรวมรวม จำนวน 10 ราย และผู้จำหน่ายดอกงิ้วแห้ง จำนวน 10 ราย พบว่า การนำดอกงิ้วสดไปตากแดดในสภาพธรรมชาติเป็นเวลา 3-5 วัน จะได้ดอกงิ้วแห้งสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นนำมาบรรจุในถุงพลาสติกใส เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลานานขึ้น พบการปนเปื้อนของเชื้อราและสีของดอกงิ้วแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำส่งผลทำให้ไม่สามารถวางจำหน่ายได้ การทดลองที่ 2 ศึกษาเชื้อราในดอกงิ้วแห้งจากตัวอย่างที่เก็บจากตลาดในท้องถิ่น พบว่า เชื้อรา สาเหตุที่พบมากหรือปนเปื้อนมากที่สุด คือ Aspergillus flavus และ Penicillium citrinum ผลการทดลองที่ 3 พบว่า น้ำโอโซนที่ระดับความเข้มข้น 200 mg/h มีประสิทธิภาพในการลดการงอกของสปอร์เชื้อรา A. flavus (19.20%) และ P. citrinum (23.20%) ในขณะที่ชุดควบคุมมีการงอกของสปอร์สูงถึง 100% การใช้น้ำโอโซน 200 mg/h ในการล้างดอกงิ้วแห้งเป็นระยะเวลา 1 นาที แสดงให้เห็นว่าสามารถลดการเจริญของเชื้อราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีจำนวนโคโลนีทั้งหมดของเชื้อรา A. flavus (0.28×106 cfu/g) และ P. citrinum (0.38×106 cfu/g) โดยชุดควบคุมมีค่า 1.97×106 และ 1.98×106 Cfu/g ตามลำดับ การทดลองที่ 4 ศึกษาประสิทธิภาพของการรมดอกงิ้วแห้งด้วยน้ำมันหอมระเหยกานพลู กะเพรา อบเชย ยูคาลิปตัส โหระพา สะระแหน่ และตะไคร้หอมต่อเชื้อรา สาเหตุในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมที่ระดับความเข้มข้น 10 ไมโครลิตร มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ A. flavus และ P. citrinum ได้ 100% ผลการรมเป็นระยะเวลา 96 ชั่วโมง ด้วยน้ำมันหอม ระเหยตะไคร้หอมที่ระดับความเข้มข้น 20 ไมโครลิตรต่อดอกงิ้วแห้งที่ปลูกถ่ายเชื้อ A. flavus และ P. citrinum จำนวน 1.0x106 สปอร์ต่อมิลลิตร มีฤทธิ์ต้านเชื้อรามากที่สุด (100%) ผลการทดลองที่ 5 พบว่า การยับยั้งการเจริญของเชื้อรา A. flavus และ P. citrinum ได้ 100% เมื่อใช้น้ำโอโซน (200mg/h) ในการล้างดอกงิ้วแห้งที่มีการปลูกถ่ายเชื้อ (1.0x106 สปอร์ต่อมิลลิลิตร) เป็นระยะเวลา 1 นาที ร่วมกับรมด้วยน้ำมันหอมระเหย ตะไคร้หอมที่ระดับความเข้มข้น 10 ไมโครลิตร เป็นระยะเวลา 96 ชั่วโมง ที่เก็บรักษาในถุงพลาสติกใสเป็น ระยะเวลา 7 วัน การทดลองที่ 6 ศึกษาการใช้น้ำโอโซนที่ความเข้มข้น 200 mg/h ในการล้างดอกงิ้วแห้ง เป็นระยะเวลา 1 นาที ร่วมกับการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ถุงพลาสติกใส, ถุงอลูมิเนียมฟอยล์แบบหน้าใส, ถุงอลูมิเนียมฟอยล์แบบหน้าใสบางส่วน และถุงอลูมิเนียมฟอยด์แบบทึบ การล้างดอกงิ้วแห้งด้วยน้ำโอโซนก่อนการบรรจุลงในถุงอลูมิเนียมฟอยล์แบบทึบเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาคุณภาพโดยรวมของดอกงิ้วแห้งตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 120 วัน หลังการเก็บรักษา โดยมีค่าสี L* และค่าอัตราการดูดน้ำกลับมากที่สุด และมีปริมาณน้ำอิสระและจำนวนโคโลนีของเชื้อราน้อยที่สุด